ยาสีฟัน สำคัญดังนี้ (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ยาสีฟัน

การได้รับฟลูออไรด์ของเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน – 16 ปี เป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะอยู่ในช่วงที่ฟันแท้เริ่มพัฒนา อย่างไรก็ดีการได้รับฟลูออไรด์ที่เพิ่มขึ้นก็เป็นวิธีในการรักษากรณีที่มีความเสี่ยงในการฟันผุ ซึ่งได้แก่กรณีการรักษาอาการ

  • ภาวะปากแห้ง (Xerostomia) ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคอื่น เช่น Sjögren's syndrome การใช้ยาอื่น เช่น ยาแก้แพ้ (Antihistamines) ยาระงับภาวะวิตกกังวล (Antianxiety drugs) ยารักษาความดันโลหิตสูง และการรักษาด้วยรังสีบำบัดที่บริเวณหน้าและลำคอ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้ฟันผุ เพราะการขาดน้ำลายทำให้การกำจัดอาหารในปากและทำให้กรดในปากเป็นกลางได้ยาก
    [Sjogren’s syndrome เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่เห็นต่อมน้ำลายและต่อมน้ำตาของตัวเองเป็นศัตรู จึงทำการโจมตีต่อมทั้งสอง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อต่อมทั้งสองขึ้น ทำให้ไม่สามารถสร้างน้ำตาและน้ำลายได้เหมือนเดิม โดยคนไข้จะมีอาการปากแห้งและตาแห้ง อาจมีอาการคันหรือมีอาการแสบร้อนที่ลูกตาทั้งสอง ปากจะแห้งอย่างมาก เพราะไม่มีน้ำลายหรือน้ำลายผลิตได้น้อย]
  • โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) สามารถทำลายฟันและรากฟันได้ โดยแบคทีเรียที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีโอกาสฟันผุมากขึ้น
  • ผู้มีปัญหาเรื่องฟันผุ
  • ผู้ที่ใส่อุปกรณ์จัดฟัน (Orthodontic appliances)

นพ.พรเทพ แนะนำว่า เพื่อความปลอดภัยของเด็ก แม้ว่าเด็กจะสามารถแปรงฟันได้เอง แต่อาจไม่สะอาดพอ พ่อแม่ควรเตรียมยาสีฟันใส่แปรงให้เด็กเพียงบางๆ และดูแลการแปรงฟันให้ดี โดยควรบีบยาสีฟันให้และช่วยแปรงฟันซ้ำให้อย่างน้อยวันละครั้ง

นพ.พรเทพ แนะนำอีกว่า เพราะเด็กมักชอบกลืนยาสีฟัน การใช้ยาสีฟันผสมฟูลออไรด์ในเด็กเล็กจึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะช่วงก่อนอายุ 3 ปี เป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระในฟันหน้ามากที่สุด

และควรเลือกใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เหมาะสมตามอายุเด็ก โดย

  • ในเด็กเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นจนถึงอายุ 3 ปี ควรเลือกใช้ยาสีฟันผสมฟูลออไรด์ที่ปริมาณ 500 พีพีเอ็ม
  • เด็กอายุ 3-6 ปี ควรเลือกใช้ยาสีฟันผสมฟูลออไรด์ที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 500-1,000 พีพีเอ็ม หรือเท่ากับเมล็ดถั่วเขียวหรือเมล็ดข้าวโพด
  • เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป สามารถใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในปริมาณ 1000 พีพีเอ็ม เพราะสามารถควบคุมการกลืนได้แล้ว

แหล่งข้อมูล

1. 'ยาสีฟันเด็ก' ไร้ฉลากบอก 'ฟลูออไรด์' เสี่ยงอันตราย! http://thairath.co.th/content/435409 [2014, July 18].
2. เด็กไทย 3-5 ขวบฟันผุเกินครึ่ง แนะอันตรายกลืนยาสีฟันขณะแปรง http://thairath.co.th/content/433069 [2014, July 18].
3. Dental Health and Fluoride Treatment. http://www.webmd.com/oral-health/guide/fluoride-treatment [2014, July 18].