ยาลดความอ้วน (ตอนที่ 2)

คำว่า fen-phen ได้ถูกบัญญัติในปี พ.ศ. 2537 เมื่อ Pietr Hitzig และ Richard B. Rothman ได้รายงานว่าการรวมกัน (Combination) ของยา Fenfluramine และยา Phenthermine สามารถทำให้เกิดการผ่อนคลายความอยากในแอลกอฮอล์และโคเคน (Cocaine)

ในปี พ.ศ. 2539 วารสารทางการแพทย์ New England Journal of Medicine (NEJM) จากเมโยคลินิก (Mayo clinic) ได้ถกเถียงถึงการค้นพบในทางคลินิกในผู้ป่วย 24 รายซึ่งได้กินยา fen-phen โดยมีการบันทึกว่า มีความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ระหว่างการเสื่อมการทำงานลิ้นหัวใจ (Mitral valve) กับการใช้สารลดความอ้วน เหล่านี้

ปลายปี พ.ศ. 2539 ผู้หญิงอายุ 30 ปีได้เกิดปัญหาโรคหัวใจหลังจากทกินยาลดความอ้วน Fenfluramine มา 1 เดือน และเธอได้เสียชีวิตลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2540 จนหนังสือพิมพ์ The Boston Herald ได้อุทิศ 1 หน้ากระดาษแก่เธอ และทำให้คณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration : FDA) ของสหรัฐอเมริกาได้ตื่นตัว

FDA ออกมาประกาศเตือนแพทย์ว่า ได้รับรายงานเพิ่มอีก 9 ฉบับของโรคเดียวกันนี้ และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งหมด ต้องรายงานกรณีเหล่านี้ต่อโครงการเฝ้าระวังทางยา (Med Watch) หรือต่อผู้ผลิตยาแต่ละราย ต่อมา FDA ได้รับรายงานเพิ่มเติมกว่า 100 ฉบับ เกี่ยวกับภาวะผิดปกติของลิ้นหัวใจในคนไข้ที่กินยา fen-phen, Fenfluramine เดี่ยวๆ หรือ Dexfenfluramine เดี่ยวๆ

FDA ได้ขอร้องให้ผู้ผลิตทั้งยาทั้งสอง ให้เน้นข้อความความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ไว้ที่ฉลากยาข้างขวดยาและเอกสารกำกับยาที่ใส่ในกล่องยา แต่ใน ปี พ.ศ. 2540 FDAยังคงได้รับรายงานเรื่องโรคลิ้นหัวใจอย่างต่อเนื่อง ในผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ โรคที่พบเป็นประจำคือโรคลิ้นหัวใจหลอดเลือดใหญ่ (Aortic) และลิ้นหัวใจสองแฉก (Mitral)

หลังจากรายงานเรื่องโรคลิ้นหัวใจและความดันโลหิตในปอด โดยเริ่มแรกพบในผู้หญิงที่เสียชีวิตจากได้รับการรักาษาด้วยกินยา fen-phen หรือ (dex) fenfluramine แล้ว FDA ก็ได้สั่งให้ถอนยาออกจากตลาดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 การออกคำสั่งนี้ เกิดจากการที่แพทย์ได้ประเมินผลผู้ป่วยที่ได้รับยาทั้ง 2 ตัวนี้กับเครื่อง Echocardiograms

วิธีนี้เป็นวิธีที่สามารถทดสอบการทำงานของลิ้นหัวใจ การค้นพบนี้เชื่อว่าประมาณ 30% ของผู้ป่วยที่ถูกประเมินมี Echocardiogram ที่ผิดปกติ แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ เมื่อปรียบเทียบผู้ที่ไม่กินทั้งยา Fenfluramine และยา Dexfenfluramine

ข้อมูลที่ได้เปิดเผยความเสี่ยงต่อโรคหัวใจของยา fen-phen ทำให้สมาคมทนายความสอบสวนของอเมริกา (Association of Trial Lawyers of America) ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องค่าความเสียหายจากบริษัท American Home Products ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย ยา Fenfluramine และยา Dexfenfluramine

แหล่งข้อมูล:

  1. อย.พบแคปซูลน้ำมันรำข้าว-จมูกข้าวผสมยาลดอ้วน มีผลต่อลิ้นหัวใจ - http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373874764&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, August 8].
  2. Fenfluarmine/phentermine - http://en.wikipedia.org/wiki/Fenfluramine/phentermine [2013, August 8].