ยาปลูกผมหย่อม ลดต่อมลูกหมากโต (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ภก. วินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการสำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการใช้ยาฟิแนสเทอไรด์ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ในการใช้จะดีที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจากยาดังกล่าวแนะนำว่าควรหยุดยา แล้วหันไปรับประทานอาหารที่เน้นผักให้มากหรือทานเนื้อสัตว์ในปริมาณที่เพียงพอ จะได้มีสภาพเส้นผมที่แข็งแรง

เภสัชกร วินิต กล่าวว่า “เมื่อกินยานี้แล้วจะมีผลช่วยลดผมร่วงที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชายสูงซึ่งลดได้เต็มที่เพียงร้อยละ 20-30 เท่านั้น แต่กรณีผมร่วงที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ก็ถือเป็นการเสื่อมสภาพของเส้นผมและรากผม ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดวิตามิน บี 6 โดยจะออกฤทธิ์ที่เห็นผลชัดเจนหลังจากกินไปแล้ว 3 – 4 เดือน จนเกิดเป็นปัญหาสุขภาพจากผลข้างเคียง"

การศึกษาวิจัยบางชิ้น แสดงว่าขนาด (Dose) ของยาฟิแนสเทอไรด์ ที่ใช้รักษาอาการศีรษะล้านในเพศชายได้ อาจไม่จำเป็นต้องถึง 1 มิลลิกรัม มีการร้องเรียนถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration : FDA) ในสำหรัฐอเมริกา ให้พิจารณาทบทวน ขนาดของยาที่น้อยลง ด้วยหลักฐานทางสถิติของความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้ยา

FDA ได้ตอบโต้ด้วยผลการศึกษาที่คำนึ่งถึงผลในระยะยาวว่า ประสิทธิผลของยา 1 มิลลิกรัมนั้นสูงขึ้นกว่า 0.2 มิลลิกกรัม โดยไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ผลการศึกษาเดียวกันก็สรุปว่า ยาขนาด 0.01 มิลลิกัมนั้น ไม่มีผลในการรักษาอาการศีรษะล้านในเพศชายเลย

ในปี พ.ศ. 2517 Julianne Imperato-McGinley แห่ง Cornel Medical College ได้รายงานในการประชุมวิชาการเรื่อง ทารกผิดปกติแต่กำเนิด (Birth defect) ว่า ในหมู่เกาะคาริเบียน เด็กกะเทยที่มีเพศกำกวมแต่กำเนิด (Hermaphroditic) และถูกเลี้ยงดูแบบเด็กหญิง เมื่อโตขึ้น อวัยวะเพศชายปรากฏชัดขึ้น และมีกล้ามเนื้อและขนตามร่างกายแบบเด็กชาย

กลุ่มที่ทำการวิจัยของเธอเปิดเผยว่า มีการสังเกตเด็กพบการเปลี่ยนแปลงยีน/จีน ผ่าเหล่า (Genetic mutation) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคความผิดปกติในการวิวัฒนาเพศชาย แต่เมื่อเจริญเต็มที่แล้ว (Maturation) บุคคลเหล่านี้ จะมีต่อมลูกหมากเล็กลง กล่าวคือไม่เติบโต และไม่มีอาการศีรษะล้านแบบเพศชาย

ในปี พ.ศ. 2518 P. Roy Vagelos ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานวิจัยพื้นฐาน (Basic-research chief) ของ Merck ได้อ่านรายงานการวิจัยของ Julianne Imperato-McGinley เขาตื่นเต้นกับแนวความคิดของฮอร์โมนที่นำไปสู่วิวัฒนาของต่อมลูกหมากให้เล็กลง เขาจึงคิดค้นยาลอกเลียนคุณสมบัติในสภาวะที่พบในเด็กกลุ่มดังกล่าว

ในปี พ.ศ. 2535 ฟิแนสเทอไรด์ 5 มิลลิกรัม ของ Merck ก็ได้รับการอนุมัติจาก FDA สหรัฐอเมริกา ให้ใช้เพื่อการรักษาอาการ ต่อมลูกหมากโตชนิดไม่ร้ายแรง (Benign prostatic hyperplasia : BPH) และต่อมาในปี พ.ศ. 2540 Merck ก็ประสบความสำเร็จอีกครั้ง จากการได้รับอนุมัติ จาก FDA สหรัฐอเมริกา ให้ใช้ยาฟิแนสเทอไรด์ที่ขนาดยา 1 มิลลิกรัม ได้ในรักษาอาการศีรษะล้านในเพศชาย (Male pattern baldness : MPB)

อย่างไรก็ตาม ยังมีความขัดแย้งกันระหว่างฝั่งยุโรปกับอเมริกา ในการติดฉลากเตือนเรื่องความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงทางเพศที่อาจเกิดขึ้น แต่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 Merck ก็ได้ปรับเปลี่ยนคำเตือนในเอกสารประกอบการใช้ยาในสหรัฐอเมริกา ที่รวมถึงข้อความเกี่ยวกับการสูญเสียสมรรถนะการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย ที่อาจยังมีผลต่อไปแม้หยุดการกินยาแล้ว

แหล่งข้อมูล:

  1. เตือนใช้ "ยาแก้หัวล้าน" สเปิร์มลด-ความรู้สึกทางเพศ หด http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340596590&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2012, July 8].
  2. Finasteride http://en.wikipedia.org/wiki/Finasteride [2012, July 8].