มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (Mu-Opioid receptor agonist)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์(Mu-Opioid receptor agonist/ ย่อว่า MOR agonist อีกชื่อคือ Mu-Opioid agonist) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการปวดของร่างกาย แต่ก็มีข้อจำกัดการใช้ด้านผลข้างเคียงต่างๆ เช่น เกิดฤทธิ์สงบประสาทจึงทำให้ง่วงนอน มีภาวะหายใจลำบาก ท้องผูกตลอดจนกระทั่งมีการนำยาหมวดนี้ไปใช้ผิดๆอย่างผิดวัตถุประสงค์ ยามิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธิ์โดยจะเข้าจับกับตัวรับ(Receptor)ที่มีชื่อเรียกว่า มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ (Mu-opioid receptor ย่อว่า MOR บางท่านเรียก Mu-opiate receptor) ตัวรับเหล่านี้พบมากใน สมอง ไขสันหลังและในทางเดินลำไส้

ขณะที่กลุ่มยามิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์เข้าจับกับตัวรับดังกล่าวจะส่งผลต่อร่างกายได้ดังนี้

1 กรณีออกฤทธิ์ที่สมอง จะทำให้การหลั่งสารสื่อประสาทในสมองเปลี่ยนไปส่งผลให ลดความรู้สึกเจ็บปวด เกิดอาการง่วงนอน

2 กรณีออกฤทธิ์ที่ทางเดินลำไส้ จะทำให้การทำงานของลำไส้หยุดชะงักและเป็นเหตุให้มีอาการท้องผูก

*การได้รับยามิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์เกินขนาด ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายอย่างรุนแรง เช่น กดการทำงานของระบบการหายใจ/กดการหายใจ หายใจช้าลง หัวใจเต้นช้า อุณหภูมิของร่างกายลดต่ำลง ลดปริมาตรของเลือดที่ออกจากหัวใจ มีภาวะความดันโลหิตต่ำด้วยตัวยากลุ่มนี้ทำให้หลอดเลือดเกิดการคลายตัว ซึ่งแพทย์จะแก้ไขโดยใช้ยาประเภทมิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์(Mu-opioid receptor antagonist) มาเป็นตัวต้านพิษ นอกจากนี้การใช้ยากลุ่มมิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์ร่วมกับเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน(Benzodiazepine) หรือกลุ่มยาจำพวกบาร์บิทูเรต(Barbiturate) จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับผลกระทบ(ผลข้างเคียง)จากยามิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์เพิ่มมากยิ่งขึ้น ในทางคลินิก จึง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน

สาร/ยาประเภทมิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์ที่นักวิทยาศาสตร์รู้จักในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายรายการ ดังนี้ เช่น Acetorphine, Acetoxyketobemidone, Acetyldihydrocodeine, Acetylfentanyl, Acetylmethadol, Acetylmorphone, Acetylpropionylmorphine, Acrylfentanyl , Adrenorphin, Alfentanil, Alimadol 3-Allylfentanyl, AllylnorpethidineAllylprodine, Alphacetylmethadol , Alphamethadol, Alphamethylthiofentanyl, Anileridine, Azaprocin , Azidomorphine, Benzethidine, Benzhydrocodone, Benzylmorphine, Betacetylmethadol ,Betahydroxyfentanyl , Betahydroxythiofentanyl , Betamethadol, Bezitramide, Brifentanil , Bromadoline, Buprenorphine, Buprenorphine/naloxone, Butyrfentanyl 8-Carboxamidocyclazocine, Carfentanil , Cebranopadol ,Chloromorphide, Chloroxymorphamine 14-Cinnamoyloxycodeinone, Ciprefadol , Ciramadol , Clonitazene, Codeine-6-glucuronide, Codeinone, Codoxime, Conorfone, Cyclopentylfentanyl, Dermorphin, Desmethylclozapine , Desmethylprodine, Desmetramadol, Desomorphine, Dextromethorphan, Dextromoramide, Dextropropoxyphene, Dextrorphan , Diacetyldihydromorphine, Diampromide , Dibenzoylmorphine, Dibutyrylmorphine, Diethylthiambutene, Difenoxin, Dihydrocodeine, Dihydroetorphine , Dihydromorphine, Dimenoxadol , Dimepheptanol , Dimethylaminopivalophenone , Dimethylthiambutene, Dioxaphetyl butyrate, Diphenoxylate , Dipipanone , Dipropanoylmorphine, Doxpicomine , Drotebanol, Eluxadoline, 6,14-Endoethenotetrahydrooripavine, Endomorphin, Endomorphin-1 Endomorphin-2, Beta-Endorphin, Eseroline , Ethoheptazine 14-Ethoxymetopon , Ethylmethylthiambutene, Ethylmorphine, Etonitazene , Etorphine, Etoxeridine, Fentanyl , 4-Fluorobutyrfentany, 4-Fluoropethidine , Furanylfentanyl , Furethidine, Hemorphin-4 Heroin, Heterocodeine, Hodgkinsine , Hydrocodone, Hydromorphinol , Hydromorphone, 14-Hydroxydihydrocodeine, 7-Hydroxymitragynine, Hydroxypethidine และยังมีอีกมากมายหลายรายการที่ไม่สามารถหยิบยกมาใส่ในบทความนี้ได้ทั้งหมด

กลุ่มยามิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์ ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายตามสถานพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ แต่ก็มียามิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์อีกจำนวนมากที่ยังต้องศึกษาค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม และรอข้อสรุปประโยชน์ทางคลินิก

ตามกฎหมายไทย ยาในกลุ่มมิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์ หลายตัวจัดอยู่ในประเภทยาเสพติด เช่น Codeine , Fentanyl , Morphine, การใช้ยากลุ่มนี้อย่างผิดขนาด ผิดวิธี จะนำมาด้วยการติดยาเหล่านั้น และส่งผลให้มีภาวะถอนยาตามมา ดังนั้นการใช้ยาในกลุ่มมิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์ได้อย่างปลอดภัยเหมาะสม จึงต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์ผู้ที่ทำการตรวจรักษาแต่ผู้เดียว

มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีสรรพคุณ(คุณสมบัติ)อย่างไร?

มิวโอปิออยด์รีเซพเตอร์อะโกนิสต์

ยามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น

  • ใช้เป็นยาระงับอาการปวดไม่ว่าจะปวดจากโรคมะเร็ง หรือปวดจากบาดแผล
  • ใช้เป็นยาระงับอาการปวดในหัตถการผ่าตัด
  • ใช้เป็นยาบรรเทาอาการไอ

มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยามิว-โอปิออยด์ อะโกนิสต์ มีกลไกการออกฤทธิ์โดย ตัวยาจะเข้าจับกับตัวรับ ชื่อมิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ซึ่งพบมากใน สมอง ไขสันหลัง และในทางเดินลำไส้

  • กรณีออกฤทธิ์ที่สมอง ยานี้จะก่อให้เกิดสมดุลของสารสื่อประสาทที่ลดการกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกถึงอาการปวด ตลอดจนกระทั่งช่วยระงับอาการไอ
  • กรณีออกฤทธิ์ที่ลำไส้ จะลดการเคลื่อนตัวของลำไส้ จึงสามารถใช้บำบัดอาการท้องเสียรุนแรง หรือเรื้อรัง และรวมถึงอาการท้องเสียจากภาวะลำไส้แปรปรวน

มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ มีรูปแบบเภสัชภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้

  • ยาชนิดรับประทาน
  • ยาอมใต้ลิ้น
  • ยาฉีด
  • แผ่นแปะผิวหนัง
  • ยาพ่นเข้าทางเดินหายใจ และ
  • ยาเหน็บทวารหนัก

มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีขนาดรับประทาน/การบริหารยาอย่างไร?

ด้วยเป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์เสพติด ขนาดและระยะเวลาของการใช้ยามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ จึงต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดและแตกต่างกันในแต่ละรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ชนิดอาการ รวมถึงความรุนแรงของอาการ ยานี้บางรายการอย่างเช่น Morphine แพทย์ต้องทำบันทึกการใช้ยากับผู้ป่วยเพื่อเป็นหลักฐานนำส่งรายงานการใช้ยากลุ่มนี้ต่อกระทรวงสาธารณสุข

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมยามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆอย่าง โรคหืด โรคหัวใจ ท้องผูก รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ อาจส่งผลให้อาการ ของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

กลุ่มยามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ สามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)ต่อระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนี้ เช่น

  • ผลต่อระบบประสาท: เช่น ง่วงนอน วิงเวียน
  • ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด: เช่น ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว หรือไม่ ก็หัวใจเต้นช้า
  • ผลต่อผิวหนัง: เช่น เกิดผื่นคัน ลมพิษ
  • ผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ: เช่น ปัสสาวะลำบาก/ปัสสาวะขัด
  • ผลต่อตา: เช่น รูม่านตามีขนาดเล็กลง
  • ผลต่อสภาพจิตใจ: เช่น เกิดการเสพติด เคลิบเคลิ้ม ประสาทหลอน รู้สึกสับสน
  • ผลต่อระบบทางเดินหายใจ: เช่น กดการหายใจ กดการไอ
  • ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เช่น ท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน

มีข้อควรระวังการใช้มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาในกลุ่มนี้
  • ห้ามใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วยจะส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงจากยากลุ่มนี้
  • ห้ามใช้ยานี้ขณะที่ผู้ป่วยมีการหายใจผิดปกติ เช่น ขณะเป็นหอบหืดเฉียบพลัน หรือหอบหืดขนาดรุนแรง
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วย พิษสุราแบบเฉียบพลันรวมถึงผู้ป่วยโรคตับ
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่ สลบ ไร้การตอบสนอง หรือขณะไม่รู้สึกตัว
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยปอดบวมน้ำ(Pulmonary edema)
  • ห้ามปรับขนาดการใช้ยานี้ด้วยตนเอง
  • ระวังการใช้ยานี้กับ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์/ตั้งครรภ์ และสตรีในภาวะให้นมบุตร
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วย โรคไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ/ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ผู้ป่วยโรคไต โรคความดันโลหิตต่ำ ต่อมลูกหมากโต ผู้ที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร/ลำไส้อักเสบ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และโรค ระบบทางเดินน้ำดี
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล อย่างเคร่งครัด และมาพบแพทย์-มาโรงพยาบาลตามแพทย์นัดหมายทุกครั้ง
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา”ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยากลุ่มมิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ด้วย) ยาแผนโบราณอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด(อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอ

มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยา Fentanyl ร่วมกับยา Phenothiazines เพราะสามารถก่อให้เกิด ภาวะความดันโลหิตต่ำรุนแรงตามมา
  • ห้ามใช้ยา Methadone ร่วมกับยาเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้/ยาเพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร เช่น Cisapride ด้วยการใช้ร่วมกันสามารถกระตุ้นให้หัวใจทำงานผิดปกติ จนถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ที่ใช้ยาร่วมกันได้
  • การใช้ยา Hydrocodone ร่วมกับยา Bupropion โดยเฉพาะการใช้ปริมาณที่สูงๆ สามารถทำให้เกิดอาการลมชักได้ง่าย กรณีผู้ป่วยสูงอายุจะมีโอกาสที่จะเกิดอาการลมชัก สูงมากตามลำดับ หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ยา Oxycodone ร่วมกับยากลุ่ม TCAs จะเกิดการเสริมฤทธิ์ของยากลุ่มTCAs เพิ่มมากขึ้นจนอาจทำให้ได้รับผลข้างเคียงสูงขึ้นจากจากTCAsติดตามมา การจะใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป

ควรเก็บรักษามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์อย่างไร?

ควรเก็บรักษายามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ ดังนี้ เช่น

ก. การเก็บรักษาในสถานพยาบาล: ควรเก็บยากลุ่มนี้ในช่วงอุณหภูมิ 20–25 องศาเซลเซียส(Celsius) ห้ามเก็บในช่องแช่แข็งตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น

*ยาที่หมดอายุ ต้องทำรายงานขออนุมัติการทำลายจากกระทรวงสาธารณสุขทุกครั้ง

ข. การเก็บรักษาในที่พัก/บ้าน: เก็บยาในอุณหภูมิห้องที่เย็น ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง /แสงแดด ความร้อนและความชื้น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือรถยนต์ และ เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

มิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยามิว-โอปิออยด์ รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Durogesic Patch (ดูโรเจซิก แพท)Janssen-Cilag
Fentanyl GPO (เฟนทานิล จีพีโอ)Hexal AG
Fentanyl Hexal (เฟนทานิล เฮ็กซอล)Hexal AG
Fentanyl Janssen-Cilag (เฟนทานิล แจนเซน ซีแล็ก)Janssen-Cilag
Fentanyl Sandoz (เฟนทานิล แซนดอซ)Hexal AG
Fentanyl Tablet, Buccal (เฟนทานิล แทบเล็ท, บัคคอล)Watson Laboratories Inc
Durogesic (ดูโรเจซิก)Janssen-Cilag
Durogesic Patch (ดูโรเจซิก แพท)Janssen-Cilag
Fentanyl GPO (เฟนทานิล จีพีโอ)Hexal AG
Fentanyl Hexal (เฟนทานิล เฮ็กซอล)Hexal AG
Fentanyl Janssen-Cilag (เฟนทานิล แจนเซน ซีแล็ก)Janssen-Cilag
Fentanyl Sandoz (เฟนทานิล แซนดอซ)Hexal AG
Fentanyl Tablet, Buccal (เฟนทานิล แทบเล็ท, บัคคอล) Watson Laboratories Inc
OxyContin Tablet, Film Coated (เฟนทานิล แทบเล็ท, ฟิล์ม โคท)Purdue Pharma LP
Methadone GPO (เมทาโดน จีพีโอ)GPO
Camphorated Opium Tincture GPO (แคมโฟเรทเตท โอเปียม ทิงเจอร์ จีพีโอ)GPO
Kapanol (คาพานอล)GlaxoSmithKline
Morphine Sulfate Inj Blue (มอร์ฟีน ซัลเฟท อินเจคชั่น บลู)M & H Manufacturing
Morphine Sulfate Inj Purple (มอร์ฟีน ซัลเฟท อินเจคชั่น เพอเพิล)M & H Manufacturing

บรรณานุกรม

  1. https://www.hindawi.com/journals/prt/2012/867067/ [2018, Jan27]
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/%CE%9C-opioid_receptor [2018, Jan27]
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Category:Mu-opioid_agonists [2018, Jan27]
  4. https://en.wikipedia.org/wiki/Morphine [2018, Jan27]
  5. https://en.wikipedia.org/wiki/Oxycodone#Side_effects [2018, Jan27]