มารู้จัก DVT กัน ก่อนเดินทางสงกรานต์นี้ (ตอนที่ 1)

สงกรานต์เป็นช่วงวันหยุดยาวที่หลายคนใช้เป็นวันครอบครัว กลับไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่พ่อแม่ครูอาจารย์ และก็เป็นช่วงที่คนไทยมักใช้เวลาไปเที่ยวต่างประเทศได้นานที่สุดช่วงหนึ่ง

วันนี้เราจะให้ความสนใจกับโรคที่อาจเกิดกับคนที่กำลังจะไปเที่ยวต่างประเทศไกลๆ ต้องนั่งเครื่องบินนานๆ หรือเที่ยวในประเทศที่ต้องนั่งในรถรานานๆ เพราะภาวะรถติดช่วงสงกรานต์ นั่นคือ โรคหลอดเลือดดำอุดตัน [ตีบ] (Deep vein thrombosis: DVT) หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Vernous thrombosis: VT)

ไกด์ทัวร์ท่านหนึ่งเล่าว่า ลูกทัวร์คนหนึ่งพาญาติผู้ใหญ่ไปเที่ยวประเทศเกาหลี ระหว่างเดินทางต้องอยู่ในท่านั่งนาน แล้วมีอาการหายใจลำบาก และเสียชีวิตลง ซึ่งอาจเป็นจากโรค DVT ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการก่อตัวของลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ พบได้บ่อยที่สุดในอวัยวะส่วนขา ทำให้เกิดอาการมากมาย ในหลายกรณีก่อให้เกิดความเจ็บปวดแสนสาหัส บวม แดง ร้อน และอาจมีเลือดคั่งที่ผนังหลอดเลือด

ความซับซ้อนที่สร้างความเสียหายได้รุนแรงที่สุดคือเมื่อลิ่มเลือดถูกขับเคลื่อนไปสู่ปอด ที่เรียกว่าภาวะหลอดเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary embolism: PE) ซี่ง DVT และ PE นี้เป็นที่ทราบกันว่าก่อให้เกิด ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด (Venous thromboembolism: VTE)

ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนล่างและไม่ได้รับการดูแลรักษา มีอัตราการตายร้อยละ 3 เนื่องจากการก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันในปอด (PE) ในขณะที่ไม่ค่อยมีการเสียชีวิตเนื่องจากการมีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนบน ในระยะยาว อาจพบความซับซ้อนของ DVT ที่ก่อให้เกิดโรคภาวะหลังหลอดเลือดตีบ (Post-thrombotic syndrome: PTS) ซึ่งมีอาการบวม เจ็บปวดหรือไม่สบาย และผิวหนังมีปัญหา

VT มีสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ (1) อัตราการไหลเวียนโลหิตดำต่ำลงหรือไม่ไหลเวียน (Venous stasis) (2) การอักเสบของผนังหลอดเลือด (Endothelial damage and activation) และ (3) การเพิ่มความเสี่ยงการอุดตันของหลอดเลือด [เลือดจะเป็นลิ่มได้ง่ายกว่าปรกติ] (Hyper-coagulability) เรามักใช้การทดสอบเพื่อวินิจฉัย DVT ด้วยการตรวจเลือดที่เรียกว่า “D-dimers” และ อัลตราซาวนด์ที่อาศัยการเปลี่ยนแปลงของคลื่น (Doppler) ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของ DVT

การรักษา DVT ส่วนใหญ่มักใช้ยาป้องกันลิ่มเลือดก่อตัว (Anticoagulation) ที่ชื่อ “Heparin” และ ยาต้านวิตามิน K มีคำแนะนำสำหรับการป้องกันโรคภาวะหลังหลอดเลือดตีบ (PTS) ง่ายๆ ด้วยการเดินออกกำลังตอนเช้าเป็นประจำ กินยาต้านการก่อตัวของลิ่มเลือด สวมถุงน่อง ที่มีแรงยึดแบบพิเศษ และรักษาด้วยถุงอัดอากาศบีบรัดขาแบบไม่ต่อเนื่อง (Intermittent pneumatic compression: IPC)

ข้อพับอื่นๆที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด DVT คือ ช่วงเชิงกราน และ บางครั้งอาจเกิดบริเวณคอ หลอดเลือดบริเวณข้อพับเข่ามีความสำคัญมาก เพราะ DVT และ PE เป็นสาเหตุให้เกิด ภาวะลิ่มเลือดจุกหลอดเลือด DVT ภาวะ DVT แบ่งเป็นช่วงเหนือเข่าส่งผลที่ข้อพับเข่า และที่ไกลออกไปคือหลอดเลือดบริเวณน่อง การเกิด DVT ครั้งเดียวก็อาจทำให้เกิด ภาวะโรคหลอดเลือดดำอุดตัน (ตีบ) ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งอาจเกิดที่ขาทั้งสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่งก็ได้

ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (DVT) มีสองแบบคือ แบบไม่มีอาการ (Asymptomatic) แต่จะพบได้จากการตรวจสอบคัดกรอง โดยลิ่มเลือดยังไม่จุกหลอดเลือด อีกแบบคือ แบบมีอาการ (Symptomatic) คือ เจ็บปวดและบวม แบบเฉียบพลัน (Acute) ซึ่งมักเกิดเพราะลิ่มเลือดจุกหลอดเลือดแล้ว ซึ่งหากมีอาการของภาวะ DVT นานเกิด 10–14 วัน จะเป็นแบบ DVT เรื้อรัง (Chronic)

แหล่งข้อมูล:

  1. วิธีป้องกันหลอดเลือดอุดตัน+เส้นเลือดขอด+ขาบวม http://www.oknation.net/blog/health2you/2012/03/03/entry-3 [2012, April 8].
  2. Deep vein thrombosis. http://en.wikipedia.org/wiki/DVT [2012, April 8].