พัฒนาการในเด็ก (ตอนที่ 7)

พัฒนาการในเด็ก

พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กวัยตอนกลาง อายุ 6-8 ปี มีพัฒนาการที่ดีได้ (ต่อ)

  • พูดกับเด็กเกี่ยวกับการเคารพผู้อื่น ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือผู้อื่นในยามจำเป็น
  • ช่วยเด็กในการตั้งเป้าหมาย เรียนรู้ที่จะภูมิใจในตัวเอง และไม่ต้องพึ่งพาหรือคาดหวังสิ่งตอบแทนจากผู้อื่น
  • ช่วยเด็กให้เรียนรู้ในการอดทน ยอมให้คนอื่นก่อน หรือทำงานให้เสร็จก่อนที่จะไปเล่น หัดคิดเป็นลำดับก่อนที่จะลงมือกระทำ
  • ตั้งกฏเกณฑ์ที่ชัดเจนและปฏิบัติตามกฏ เช่น มีเวลาในการดูโทรทัศน์นานเท่าไรหรือเข้านอนเวลากี่โมง ให้รู้ชัดเจนว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ
  • ทำเรื่องสนุกๆ ด้วยกัน เช่น เล่นเกมส์ อ่านหนังสือ หรือไปเที่ยว
  • ทำความรู้จักกับโรงเรียนของเด็ก พูดคุยกับครูเพื่อช่วยกันพัฒนาเด็กให้ดีขึ้น
  • อ่านหนังสือให้เด็กฟัง หรือให้เด็กอ่านหนังสือให้ฟัง
  • ใช้ระเบียบวินัยเป็นแนวทางและป้องกันเด็ก มากกว่าการลงโทษหรือทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง สอนว่าอะไรที่ไม่ควรทำแล้วสอนตามด้วยสิ่งที่ควรทำ
  • ชื่นชมเด็กเมื่อประพฤติดี
  • สนับสนุนให้เด็กทำสิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทาย แก้ปัญหาด้วยตัวเอง เช่น การขัดแย้งไม่เห็นด้วยกับเพื่อน
  • สนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมงานของโรงเรียนหรือกลุ่ม เช่น ทีมกีฬา อาสาสมัคร

ด้านความปลอดภัยของวัยเด็กตอนกลาง อายุ 6-8 ปี

เนื่องจากเด็กมีการเคลื่อนไหวทางร่างกายมากขึ้นและเป็นอิสระมากขึ้น จึงทำให้เด็กมีปัจจัยเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บจากการหกล้มและอุบัติเหตุ ดังนั้น

  • สอนเด็กให้รู้จักการใช้ถนนอย่างปลอดภัยเมื่อเดินไปโรงเรียน ขี่จักรยาน และเล่นนอกบ้าน
  • คอยดูแลเมื่อเด็กทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การปีน การว่ายน้ำ
  • สอนเด็กว่าควรขอให้คนช่วยอย่างไรเมื่อต้องการความช่วยเหลือ
  • เก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ ปืน ที่เป็นอันตรายให้พ้นจากมือเด็ก

การดูแลสุขภาพวัยเด็กตอนกลาง อายุ 6-8 ปี

  • ประสานงานกับโรงเรียนเพื่อจำกัดการเข้าถึงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และเกลือ
  • ให้เด็กมีเวลาอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงในการทำกิจกรรมทางร่างกาย
  • จำกัดเวลาอยู่หน้าจอวันละไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง
  • สนับสนุนให้เด็กมีนิสัยในการกินที่ถูกสุขอนามัยและมีกิจกรรมทางร่างกาย

บรรณานุกรม

1. Facts About Child Development. https://www.cdc.gov/ncbddd/childdevelopment/ [2017, January 3].