พัฒนาการในเด็ก (ตอนที่ 4)

พัฒนาการในเด็ก

ด้านความปลอดภัยของเด็กวัยหัดเดิน อายุ 1-2 ปี

เนื่องจากเด็กวัยนี้สามารถเคลื่อนไหวไปรอบๆ ตัวมากขึ้น เด็กอาจจะได้รับอันตรายได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องคอยดูแลเด็กให้ดี เช่น

  • อย่าปล่อยเด็กให้อยู่ใกล้น้ำ เช่น อ่างอาบน้ำ สระน้ำ โดยไม่มีคนดูแล เพราะเด็กอาจจมน้ำได้
  • ทำรั้วกันบันได ล็อคประตูที่สามารถออกไปยังสถานที่อันตรายได้ เช่น โรงรถ ใต้ถุน
  • ปิดรูปลั๊กไฟที่เด็กอาจแหย่มือเข้าไปได้
  • เก็บเครื่องครัว เตารีด มีด กรรไกร ปากกา และของอื่นๆ ให้ไกลมือเด็ก
  • อย่าปล่อยเด็กไว้ในรถตามลำพังแม้เพียงไม่กี่นาที

การดูแลสุขภาพเด็กวัยหัดเดิน อายุ 1-2 ปี

  • ให้เด็กดื่มน้ำและนมจืดแทนที่จะดื่มน้ำหวาน และหลังอายุ 1 ปี แม้เด็กจะสามารถกินได้มากขึ้น แต่นมแม่ก็ยังคงเป็นอาหารที่ดีอยู่
  • เด็กวัยนี้จะเลือกกินและเอาแน่ไม่ได้ ดังนั้น อาจจะมีอาหารสุขภาพให้เด็กเลือกกินและลองของใหม่ๆ ดู
  • ไม่ควรให้เด็กมองจอภาพ (Screen media)
  • ปล่อยให้เด็กเคลื่อนไหวไปเรื่อย เพื่อพัฒนาการของร่างกายให้แข็งแรง

เด็กวัยหัดเดิน (Toddlers) อายุ 2-3 ปี

เพราะเด็กวัยนี้ต้องการที่จะเป็นอิสระมากขึ้น ซนมากขึ้น เด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงในการคิด การเรียน สังคม และอารมณ์ ที่ช่วยให้เขาเรียนรู้โลกใหม่

เด็กจะสามารถทำตามคำสั่งได้ 2-3 อย่าง สามารถเลือกวัตถุตามรูปร่างและสี เลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่และเพื่อน และแสดงอารมณ์ที่หลากหลาย

ในช่วงนี้พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีได้ดังนี้

  • กำหนดเวลาในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง
  • ช่วยเด็กในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยการพาเด็กออกไปเดินเล่นข้างนอก
  • สอนให้เด็กบอกชื่อและอายุของตัวเอง
  • สอนเด็กให้ร้องเพลงง่ายๆ
  • เอาใจใส่เด็ก ให้คำชมเมื่อเด็กทำตามคำสั่ง สอนเด็กด้วยอารมณ์ดีไม่เกรี้ยวกราด

บรรณานุกรม

1. Facts About Child Development. https://www.cdc.gov/ncbddd/childdevelopment/ [2016, December 31].