ผู้ป่วยโรคมาลาเรียทั่วโลกตายลดลง 20%

องค์การอนามัยโลก แถลงว่าอัตราการตายด้วยโรคมาลาเรียลดลง 20% ทั่วโลกในทศวรรษที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2543 มีผู้ป่วยจำนวน 233 ล้านคน โดยที่มีผู้ตายจำนวน 985,000 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยจำนวน 225 ล้านคน โดยที่มีผู้ตายเพียงจำนวน 781,000 คน

รายงานล่าสุดขององค์การอนามัยโรคประจำปี พ.ศ. 2553 เปิดเผยว่า 1 ใน 3 ของ 108 ประเทศที่โรคมาลาเรียเคยระบาด กำลังวิวัฒนาไปสู่การกำจัดโรคนี้ให้หมดสิ้นไปภายใน 10 ปี ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ถ้าสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เราจะสามารถช่วยชีวิตคนได้ 3 ล้านคน ภายในปี พ.ศ. 2558

มาลาเรียเป็นหนึ่งในจำนวนโรคร้ายระดับโลก โดยมียุงเป็นพาหะ และพบมากในทวีปอัฟริกาแถบ Saharan ที่ซึ่ง 85% ของการตายด้วยโรคมาลาเรียเกิดขึ้น โดยที่ผู้ตายส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี รายงานก่อนหน้านี้ กล่าวด้วยความผิดพลาดว่า อัตราการตายลดลง 40%

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โรคมาลาเรียได้ถูกกำจัดให้หมดสิ้นจากประเทศ Morocco, Turkmenistan และ Armenia โดยเฉพาะโครงการ Roll Back Malaria Partnership ในปัจจุบันมุ่งมั่นที่จะกำจัดโรคมาลาเรียในอีก 8 - 10 ประเทศ ก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งยุโรปภาคที่มีสำนักงานขององค์การอนามัยโลกตั้งอยู่

Robert Newman ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโครงการมาลาเรียระดับโลกขององค์การอนามัยโลก แถลงว่า โครงการดังกล่าวได้มีความคืบหน้าไปมาก เขากล่าวในการประชุม Malaria Forum ที่เมือง Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า “การตรวจวิเคราะห์ที่ดีขึ้นและการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงสถานการณ์ปัจจุบัน และแสดงให้เห็นว่า มีหลายประเทศที่กำจัดโรคมาลาเรียให้หมดไปจากภูมิภาค และรู้ว่าเราสามารถช่วยชีวิตคนจำนวนมากด้วยเครื่องมีอที่มีอยู่”

อันที่จริง การรณรงค์กำจัดโรคมาลาเรีย เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2498 โดยองค์การอนามัยโลก ซึ่งประสบผลสำเร็จในการกำจัดโรคนี้ ใน 16 ประเทศ แต่หลังจากสองทศวรรษ องค์การอนามัยโลกตัดสินใจ มุ่งเน้นไปที่จุดหมายในเชิงรับของการควบคุมมากกว่ากำจัดโรคมาลาเรีย

อย่างไรก็ตาม องค์การหนามัยโลกได้ประกาศว่า โรคมาลาเรียถูกกำจัดหมดสิ้นไปจากอีก 8 ประเทศ จนกระทั่ง ปีพ.ศ. 2530 หลังจากการรับรองว่าการปราศจากโรคมาลาเรีย ได้สิ้นสุดลงเป็นเวลา 20 ปี แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ความสนใจในเรื่องการกำจัดให้หมดสสิ้น ได้รับการฟื้นฟูกลับมาใหม่

ในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างแรงจากโรคมาลาเรีย จะมีค่าใช้จ่ายไปกับโรคนี้สูงถึง 40% ของงบประมาณสาธารณสุข เพราะจำนวนผู้ป่วยโรคนี้เข้ารักษานอนในโรงพยาบาลสูงประมาณ 30 – 50% ของผู้ป่วยในทั้งหมด ส่วนผู้ป่วยนอกของโรคนี้ คิดเป็น 60% ของผู้ป่วยนอกทั้งหมด ดังนั้นความเสียหายทางเศรษฐกิจ ในประเทศดังกล่าว จะลดลงประมาณ 1.3% ของ GDP (Gross Domestic Product = ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ)

ก่อนที่ญี่ปุ่นจะถอนทัพออกจากประเทศไทย หลังการเข้ายึดครองช่วงสงครามเอเชียบูรพา ได้กล่าวถึงเอกลักษณ์ 3 อย่างของประเทศไทยที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทุกหนทุกแห่ง ได้แก่ (1) พระสงฆ์องค์เจ้า (2) นักย่องเบา (ขโมย) ตามบ้าน และ (3) ยุง ซึ่ง “ร้ายยิ่งกว่าเสือ” จนชาวอาทิตย์อุทัยเข็ดหลาบไปตามๆ กัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Malaria deaths fall over 20% worldwide in last decade. http://www.bbc.co.uk/news/health-15346624 [October 23, 2011].