ผักบร็อกโคลี่ ที่พึงระวัง (ตอนที่ 4)

ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) เป็นโมเลกุลอยู่ภายในสารประกอบอินทรีย์ซัลเฟอร์ (Organic sulfur) มีคุณสมบัติต้านมะเร็ง (Anti-cancer) และต้านแบคทีเรีย (Antimicrobial) ในการทดลอง

สารนี้ได้รับจากพืชจำพวก บร็อกโคลี่ หน่อกะหล่ำดาว หรือผักกระหล่ำปลี สารนี้ถูกผลิตเมื่อน้ำย่อย (Enzyme) ไมโรซิเนส (myrosinase) เปลี่ยนจากสารกลูโคราฟานิน (Glucoraphanin) ซึ่งสร้างความเสียหายต่อพืช (อย่างเช่น การเคี้ยว) ซึ่งทำให้สาร 2 ชนิดมาทำปฏิกิริยากัน

ซัลโฟราเฟน ถูกแยกได้ในต้นอ่อนของบร็อกโคลี่ซึ่งมีสารตัวนี้สูงสุด สารนี้ยังพบได้ใน ต้นอ่อนและตัวกะหล่ำดอก ผักกระหล่ำปลี ผักกวางตุ้งจีน คะน้าจีน คะน้าฝรั่ง บร็อกโคลี่จีน ใบจากก้านบร็อกโคลี่ กะหล่ำปม มัสตาร์ด หัวไช้โป้ว หัวไชเท้า และ ผักสลัดน้ำ

การบริโภคหน่ออ่อนของบร็อกโคลี่ ได้แสดงผลอย่างชัดเจนในการยับยั้งเชื้อ Helicobactor pyroli (เชื้อที่พบในคนที่เป็นกรดไหลย้อน) สารที่อออกฤทธิ์ก็คือ ซัลโฟราเฟน และการรับประทานผักตระกูล Cruciferous มีผลต่อเอนไซม์ที่ใช้สลายยาที่ศึกษาในคน แม้ว่าจะไม่มีผลข้างเคียงหรือปฏิกิริยาโดยตรง ซึ่งได้รายงานในปี พ.ศ. 2551

คนซึ่งรับประทานยาตามใบสั่งแพทย์ ได้รับการแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานซัลโฟราเฟน หรือสารสกัดต้นอ่อนของบร็อกโคลี่ ซัลโฟราเฟนมีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง และในสัตว์ทดลอง

การใช้ยาซัลโฟราเฟนทาทางผิวหนังจะช่วยป้องกันผิวหนังจากการทำลายของรังสีอุลตราไวโอเลต (Ultra-violet : UV) ซึ่ง UV มีผลให้เกิดมะเร็งผิวหนัง

การทดลองก่อนหน้านี้พบว่า ซัลโฟราเฟนจะป้องกันหัวใจจากการอักเสบของหลอดเลือดและหลอดเลือดแข็งตัวได้ การศึกษาในหลอดทดลองเมื่อไม่นานมานี้ ได้แสดงว่า ซัลโฟราเฟน สามารถรบกวนบทบาทของ จีน/ยีน (Gene) ที่ตัวรับฮอร์โมนเพศชาย (Androgen receptor) ในเซลมะเร็งต่อมลูกหมาก

ส่วน กลูโคโรฟานิน (Glucoraphanin) ก็เป็นสารที่พบในผักบร็อกโคลี่ และผักกะหล่ำปลี (Cauliflower) โดยเฉพาะหน่ออ่อนๆ (Young sprouts) เมื่อมีการบริโภคอาหารเหล่านี้ น้ำย่อยไมโรซิเนสก็จะเปลี่ยนสารกลูโคโรฟานิน นี้เป็นสารราฟานิน (Raphanin) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อปฏิชีวนะ (Antibiotic) และสารซัลโฟราเฟน (Sulforaphan) ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งหรือต้านมะเร็ง (Anti-cancer) และคุณสมบัติ (Properties) ฆ่าเชื้อจุลชีพในการทดลอง

แหล่งข้อมูล:

  1. Sulforaphane - http://en.wikipedia.org/wiki/Sulforaphane [2013, September 2].
  2. Glucoraphanin - http://en.wikipedia.org/wiki/Glucoraphanin [2013, September 2].