ผักบร็อกโคลี่ ที่พึงระวัง (ตอนที่ 3)

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดจากการบริโภค เบต้า-แคโรทีน ที่มากเกินไป (Overdose) คือ การแสดงออกมาทางผิวหนังเป็นสีเหลืองหรือสีส้มเด่นสะดุดตา (Carotenodemia เนื่องจากการเกาะที่มากขึ้นของแคโรทีนอยด์ที่ผิวหนังชั้นนอกสุดหรือหนังกำพร้า (Epidermis) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิม เมื่อหยุดรับประทาน

ปริมาณที่มากของอาหารเสริม เบต้า-แคโรทีนอยด์สังเคราะห์ มีความเกี่ยวข้องกับอัตราการเป็นมะเร็งปอดที่สูงขึ้นในผู้สูบบุหรี่เรื้อรัง ยิ่งไปกว่านั้น อาหารเสริมเบต้า-แคโรทีน อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก เลือดออกในสมองและหลอดเลือดหัวใจ และการเสียชีวิตทั้งหมดของผู้สูบบุหรี่ หรือมีประวัติสัมผัสแร่ใยหินในปริมาณสูง

เบต้า-แคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของวิตามิน เอ ที่อยู่ในผักอย่างเช่น แครอท โดยเปลี่ยนเป็นสารเรทีนอยด์ (Retinoids) ที่ ไม่ทำให้เกิดภาวะวิตามินมากเกินไป (Hyper-vitaminosis) สัดส่วนของการดูดซึม แคโรทีนอยด์จะลดลงเมื่อมีการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น

กลไกเหล่านี้ถูกควบคุมโดยภาวะวิตามินเอ ในแต่ละคน ถ้าร่างกายมีวิตามิน เอ มากเพียงพอ การเปลี่ยนของเบต้า-แคโรทีนก็จะลดลง ดังนั้น เบต้า-แคโรทีน เป็นแหล่งที่ปลอดภัยมากของวิตามิน เอ เบต้า-แคโรทีนที่มากเกินไปจะถูกเก็บไว้ในเนื้อเยื่อไขมันของร่างกาย จะมีปฏิกิริยาของเบต้า-แคโรทีนกับยาอื่น (Drug Interaction)

เบต้า-แคโรทีนสามารถทำปฏิกิริยากับยาลดโคเรสเตอรอล การรับประทานร่วมกันจะทำให้ประสิทธิภาพของยาเหล่านี้ลดลง และออกฤทธิ์ปานกลางเท่านั้น เบต้า-แคโรทีนจะไม่รับประทานร่วมกับยายาลดน้ำหนัก (Orlistat) ซึ่งสามารถลดการดูดซึมของเบต้า-แคโรทีน ประมาณ 30%

ยากลุ่มยาช่วยขจัดกรดน้ำดี (Bile acid sequestrants)การดื่มแอลกอฮอล์กับเบต้า-แคโรทีนจะลดการเปลี่ยน เบต้า-แคโรทีน ไปเป็น วิตามิน เอ (Retinol) และมีพิษต่อตับด้วย แต่งยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เบต้า-แคโรทีน ให้ผลในการรักษารูปแบบที่แตกต่างกันไปของมะเร็ง และยังไม่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันในการป้องกันมะเร็งในคน

จากการศึกษาพบว่าการรับประทาน เบต้า-แคโรทีน สูงๆ เป็นเวลานานจะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่ ผลเหล่านี้ในผู้ที่รับประทานเป็นอาหารเสริม ไม่พบว่ามีการทำลายเนื้อเยื่อปอดในผู้ซึ่งสัมผัสควันบุหรี่ ดังนั้นโรคมะเร็งจากเบต้า-แคโรทีนอยู่บนพื้นฐานของทั้งการสูบบุหรี่และปริมาณที่รับประทานขนาดสูงต่อวัน

เบต้า-แคโรทีนได้ถูกใช้รักษาความผิดปกติหลายอย่างเช่น โรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับการทำงานของสารในเม็ดเลือดแดง (Erythropoietic protoporphyria) และยังถูกใช้เพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมในผู้หญิงก่อนหมดประจำเดือน และความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age-related macular degeneration : AMD)

แหล่งข้อมูล:

  1. Betacarotene - http://en.wikipedia.org/wiki/Beta-Carotene [2013, sep 1].