ปัจจัยมนุษย์หรือการยศาสตร์ (ตอนที่ 6)

สมาคมการยศาสตร์นานาชาติ (International Ergonomics Association) ซึ่งกำหนดหัวข้อหลักของความเชี่ยวชาญของการยศาสตร์ไว้ดังนี้

  • Physical ergonomics เกี่ยวข้องกับกายวิภาคของมนุษย์ (Anatomy) และบางอย่างของวิทยาการการวัดสัดส่วนของมนุษย์ (Anthropometrics), และคุณลักษณะพิเศษสรีรวิทยา (Physiology) กลไกทางชีววิทยา (Bio-mechanical) ซึ่งสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายภาพ
  • Cognitive ergonomics เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีทางจิตใจอย่างเช่น การมอง (Perception), ความจำ, การใช้เหตุผล, และการตอบสนองการเคลื่อนไหว ที่มีผลกระทบต่อปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับปัจจัยอื่นๆ ในระบบ (ซึ่งรวมถึงภาระงานในจิตใจ (Mental workload) การตัดสินใจ ผลงานจากความชำนาญ (Skilled performance) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ความเชื่อใจในคน, ความเครียดจากการทำงาน และการฝึกฝนที่อาจสัมพันธ์กับระบบมนุษย์ และการออกแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์
  • Organization ergonomics เกี่ยวข้องกับความเหมาะสม (Optimum) ของระบบเทคนิคทางสังคม รวมทั้งโครงสร้างองค์กร นโยบายและกรรมวิธี (หัวข้อที่ใกล้เคียง ได้แก่การติดต่อสื่อสาร, การจัดการทรัพยากรทีมงาน, การออกแบบงาน ระบบงาน, การออกแบบเวลาทำงาน, การทำงานร่วมกัน, การออกแบบที่มีส่วนร่วม, การยศาสตร์ชุมชน, งานที่ทำร่วมกัน, โปรแกรมงานใหม่, องค์กรเสมือนจริง (Virtual), งานโทรคมนาคม (Telework), และการจัดการคุณภาพ)
  • Environmental ergonomics เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมทางกายภาพเป็นคุณลักษณของอากาศ อุณหภูมิ ความดัน การสั่นสะเทือน แสง ฯลฯ

มีกลุ่มทางเทคนิคมากกว่า 20 กลุ่มภายย่อย ในสังคมปัจจัยมนุษย์และการยศาสตร์ (Human Factors and Ergonomics Society : HF&ES) ซึ่งบ่งชี้ขอบเขตของกการประยุกต์ใช้การยศาสตร์

ประเด็นปัจจัยมนุษย์เกิดขึ้นในระบบง่ายๆ และสินค้าอุปบริโภคบริโภคด้วย บางตัวอย่างได้รวมโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์มือถือทั้งหลาย ซึ่งยังคงเล็กลงอย่างต่อเนื่อง แต่เติบโตแบบซับซ้อน การออกแบบโดยผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (User-centered design) ซึ่งมุ่งหวังเพื่อทำให้ระบบผู้ใช้ดีขึ้น

หลักการของการยศาสตร์ได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการออกแบบทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม ตัวอย่างในอดีตเช่น ด้ามจับไขควง ที่ทำให้เป็นรอยหยักเพื่อทำให้นิ้วมือจับได้ดีขึ้น และการใช้พลาสติกยืดหยุ่นอย่างนิ่มเพื่อเพิ่มการยึดเหนี่ยวระหว่างผิวหนังของมือและพื้นผิวด้ามจับ

HF&E ยังคงดำเนินการประยุกต์ใช้ต่อไปอย่างประสบควาสำเร็จในสาขาการบิน วัยสูงอายุ (Aging) การดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การขนส่ง การฝึกสอน สิ่งแวดล้อมนิวเคลียร์และเสมือนจริง (Nuclear and virtual) และอื่นๆ การยศาสตร์ทางกายภาพเป็นส่วนสำคัญในสาขาการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย (Physiological ailments)

แหล่งข้อมูล:

  1. รพ.วชิระภูเก็ต จัดโครงการสร้างสุขภาพด้านการยศาสตร์ในสถานประกอบการ -http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000115447&Keyword=%ca%d8%a2%c0%d2%be [2013, October 18].
  2. Human factors and ergonomics - http://en.wikipedia.org/wiki/Human_factors_and_ergonomics [2013, October 18].