ปัจจัยมนุษย์หรือการยศาสตร์ (ตอนที่ 3)

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เฟร็ดเดอริค เทเล่อร์ (Frederick Taylor) เป็นผู้บุกเบิก “วิทยาศาสตร์การจัดการ” (Scientific management) ซึ่งนำเสนอวิธีที่เหมาะสมสุด (Optimum) ในการทำงาน เทเล่อร์ได้พบว่าเขาสามารถเพิ่มผลผลิตของคนงานขุดถ่านหิน เป็น 3 เท่าของปริมาณที่ขุดได้ โดยลดขนาดและน้ำหนักของพลั่วที่ใช้ขุด จนกระทั่งบรรลุอัตราการขุดที่เร็วที่สุด

แฟรงค์ และลิเลียน กิลเบร็ท (Frank and Lillian Gilbreth) ได้ขยายวิธีการของเทเลอร์ ในต้นปี ค.ศ. 1900 เพื่อพัฒนาการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว (Time and motion study) พวกเขามุ่งหวังที่จะทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้น โดยขจัดขั้นตอนและการกระทำที่ไม่จำเป็นออกไป ตัวอย่างเช่น เขาได้ลดจำนวนการเคลื่อนไหวในการก่ออิฐจาก 18 เป็น 4.5 ครั้ง ทำให้ช่างก่ออิฐเพิ่มผลผลิตของพวกเขาจาก 120 เป็น 350 ก้อนต่อชั่วโมง

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จิตวิทยาการบิน (Aviation psychology) ได้พุ่งเป้าหมายการออกแบบและสร้างเครื่องบินไปที่ตัวนักบินเอง แต่สงครามได้เลื่อนการพุ่งเป้าหมายไปที่ลำเครื่องบิน โดยเฉพาะการออกแบบการควบคุมและจอแสดงผล ผลกระทบของความสูงเหนือระดับน้ำทะเล และปัจจัยสิ่งแวดล้อมรอบตัวนักบิน

สงครามนำไปสู่การค้นคว้าทางเวชศาสตร์การบิน (Aero-medical) และความจำเป็นสำหรับวิธีทดสอบและการวัดผล การศึกษาในเรื่องแรงผลักดันพฤติกรรม ได้เริ่มขึ้นในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะเฮ็นรี่ ฟอร์ด (Herry Ford) ได้เริ่มสร้างรถยนต์ให้อเมริกันนับล้านคัน กาพัฒนาหัวข้อหลักอื่นๆ ระหว่างช่วงเวลานี้เป็นผลงานด้านเวชศาสตร์การบิน

ตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 ห้องทดลองทางอวกาศ (Aeronautic laboratory) ได้ถูกสร้างขึ้น หนึ่งในนั้นคือที่ฐานทัพอากาศบรุ๊ค (Brook) รัฐเท็กซัส และอีกแห่งคือที่ฐานทัพอากาศไร้ต์แพทเทอร์สัน (Wright-Patterson) นอกเมือง เดย์ตัน (Dayton) รัฐโอไฮโอ

หลายๆ การทดสอบได้นำมาซึ่งการกำหนดคุณลักษณะที่แตกต่างของการทดลองที่ประสบความสำเร็จกับที่ไม่สำเร็จ ระหว่างต้นปี พ.ศ. 2473 เอ็ดวิน ลิงค์ (Edwin Link) ได้พัฒนาอุปกรณ์จำลองการต่อสู้ (Flight simulator) เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงอุปกรณ์จำลองและเครื่องมือการทดสอบ

การพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญอีกอย่างคือทางด้านพลเรือน ซึ่งมีการค้นพบผลกระทบของแสวงสว่างต่อผลผลิตของคนงานที่เพิ่มขึ้น สิ่งนี้นำไปสู่ “ผลกระทบของฮอธอร์น” (Hawnthone Effect) ซึ่งชี้แนะว่า ปัจจัยแรงจูงใจ (Motivation factors)สามารถมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อผลงานของมนุษย์.

สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาเครื่องจักรใหม่ๆ และซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาอาวุธ และสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความต้องการใหม่ในการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (Operations) ในขณะที่หลักการของเทเลอร์ที่จะปรับเข้ากับการทำงานของแต่ละบุคคบ เริ่มเสื่อมความนิยมลง

แหล่งข้อมูล:

  1. รพ.วชิระภูเก็ต จัดโครงการสร้างสุขภาพด้านการยศาสตร์ในสถานประกอบการ -http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000115447&Keyword=%ca%d8%a2%c0 %d2%be [2013, October 15].
  2. Human factors and ergonomics - http://en.wikipedia.org/wiki/Human_factors_and_ergonomics [2013, October 15].