ปัจจัยมนุษย์หรือการยศาสตร์ (ตอนที่ 2)

ปัจจัยมนุษย์และการยศาสตร์ เป็นเรื่องของความพอดี (Fit) ระหว่างผู้ใช้, เครื่องมือ, และสิ่งแวดล้อมของพวกเขา โดยคำนึงถึงความสามารถของผุ้ใช้ และข้อจำกัด ในการแสวงหาความมั่นใจว่า ภารกิจ, หน้าที่, ข้อมูล, และสิ่งแวดล้อมพอเหมาะกับแต่ละบุคคล

เพื่อเข้าถึงความพอเหมาะ ระหว่างบุคคลกับการใช้เทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญปัจจัยมนุษย์หรือการยศาสตร์พิจารณากิจกรรมที่ได้ทำกับความต้องการของผู้ใช้ เครื่องมือที่ใช้ (ขนาดของเครื่องมือ, รูปร่าง และความเหมาะสมที่ถูกใช้ในงาน) และข้อมูลที่ใช้ (การนำเสนอ, การเข้าถึง, และการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลง)

การยศาสตร์ เกิดจากหลากหลายสาขา ในการศึกษานระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อันได้แก่วิทยาการวัดสัดส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ (Anthropometry) กลไกทางชีวะ, วิศวเครื่องกล, วิศวอุตสาหการ, การออกแบบอุตสาหกรรม, การออกแบบข้อมูล, การเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ (Kinesiology), สรีรวิทยา และจิตวิทยา

ในด้านต้นกำเนิดและพัฒนาการ (Etymology) การยศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์การออกแบบเครื่องมือ และสถานที่ทำงาน เพื่อให้พอเหมาะกับผู้ใช้ คำว่า Ergonomiic มาจากภาษากรีกว่า Eprov มีความหมายว่า “งาน” และ No'uos มีความหมายว่า "กฏธรรมชาติ"

วิทยาศาสตร์ของการทำงาน บนพื้นฐานความจริงจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ การนำเสนอคำศัพท์ “การยศาสตร์” นี้ ในปทานุกรม เกิดจากนักจิตวิทยาชาวอังกฤษชื่อ Huwell Murrell ซึ่งใช้ในการประชุมในปี ค.ศ. 1949 ที่ Admiralty ของสหราชอาณาจักร แล้วนำมาสู่การก่อตั้งของ “สโมสรการยศาสตร์” Ergonomics Society เขาบรรจุคำนี้ในการศึกษาวิจัยของเขาในช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ส่วนในแถบทวีปอเมริกาเหนือ ใช้คำว่า “ปัจจัยมนุษย์” เพื่อเน้นการประยุกต์ใช้วิธีการเดียวกันกับสถานะที่ไม่มีความสัมพันธ์กับงาน ปัจจัยมนุษย์เป็นคุณสมบัติทางกายภาพหรือการเรียนรู้ ของพฤติกรรมแต่ละคนหรือสังคมโดยเฉพาะต่อมนุษย์ผู้ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการทำงานของระบบเทคโนโลยี

คำว่า "ปัจจัยมนุษย์" และ "การยศาสตร์" เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน มาตรฐานนานาชาติหลายๆ แห่ง อาทิ ISO 6385 ให้คำจำกัดความของ "การยศาสตร์" และ "ปัจจัยมนุษย์" เดียวกัน การกำเนิดของการยศาสตร์ ปรากฏว่ามีรากฐานในวัฒนธรรมของกรีกโบราณ การเชื่อมโยงหลักฐานพบว่า ประชากรกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลได้ใช้หลักการของการยศาสตร์ในการออกแบบของเครื่องมือของพวกเขา, งาน และสถานที่ทำงาน

ตัวอย่างที่ชี้ชัดอีกอย่างหนึ่ง สามารถพบได้ในคำอธิบายของ Hippocratis [บิดาแห่งการแพทย์] ที่ว่า สถานที่ผ่าตัดควรจะได้รับการออกแบบอย่างไรและเครื่องมือที่เขาใช้ควรจะถูกจัดหาอย่างไร การบันทึกทางโบราณคดี ได้แสดงด้วยว่า ราชวงค์อียิปต์ตอนต้น ได้ทำเครื่องมือและอุปกรณ์ภายในบ้าน ซึ่งแสดงหลักการของการยศาสตร์เริ่มแรก เท่าที่สามารถพิสูจน์ได้

แหล่งข้อมูล:

  1. รพ.วชิระภูเก็ต จัดโครงการสร้างสุขภาพด้านการยศาสตร์ในสถานประกอบการ -http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000115447&Keyword=%ca%d8%a2%c0 %d2%be [2013, October 14].
  2. Human factors and ergonomics - http://en.wikipedia.org/wiki/Human_factors_and_ergonomics [2013, October 14].