ปัจจัยมนุษย์หรือการยศาสตร์ (ตอนที่ 1)

ศูนย์ข่าวภูเก็ตรายงานว่า โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ได้จัดโครงการสร้างสุขภาพด้านการยศาสตร์ในสถานประกอบการ ประจำปี 2556 ในงานนี้ มีนายแพทย์วีระศักดิ์ หล่อทองคำ รองผู้อำนวยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต และบรรดานายจ้าง และลูกจ้างสถานประกอบการใน จังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมกว่า 100 คน

วัตถุประสงค์ของงาน เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการยศาสตร์ การจัดท่าทางการทำงาน การยกของหนัก และการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่ถูกวิธีให้แก่เจ้าหน้าที่ โดยเน้นความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ เพื่อลดการบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยของลูกจ้างจากการทำงานตามแหล่งสถานประกอบการ

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการฝึกประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานในสถานประกอบการ การฝึกบริหารกล้ามเนื้อขณะปฏิบัติงาน และการสาธิตวิธีการกินอย่างไรห่างไกลโรค ซึ่งข้อมูลจากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต พบว่า มีผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่าง และกล้ามเนื้อยึดเสริม ในปี 2555 มากเป็นอันดับ 2 รองมาจากโรคระบบไหลเวียนเลือด

ปัจจัยหนึ่งที่เป็นสาเหตุของปัญหาดังกล่าวมาจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม การยกของที่มีน้ำหนักเกินขนาด การบิดเอี้ยวตัวในท่าฝืนธรรมชาติ รวมทั้งการนั่งและยืนเป็นเวลานานๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และกระดูก โดยเฉพาะบริเวณหลัง

ปัจจัยมนุษย์และการยศาสตร์ (Human factors and ergonomics : HF&E) เป็นสาขาที่รวบรวมการฝึกฝนหลายๆอย่างโดยได้รับการสนับสนุนหลายๆ รูปแบบจากจิตวิทยา, วิศวกรรม, ชีวกลศาสตร์, กลไกทางชีววิทยา, การออกแบบทางอุตสาหกรรม, การออกแบบภาพ (Graphic), สถิติ, การวิจัยปฏิบัติการ (Operations research) และ วิทยาการวัดสัดส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ (Anthropometry)

หัวใจสำคัญคือเป็นการศึกษาการออกแบบเครื่องมืออุปกรณ์และสิ่งประดิษฐ์ซึ่ งเหมาะกับร่างกายมนุษย์และความสามารถในกระบวนการการเรียนรู้ อันที่จริงแล้ว คำ 2 คำ คือ ปัจจัยมนุษย์ และ การยศาสตร์ มีความหมายที่ใช้แทนกันได้ (Synonymous)

สมาคมการยศาสตร์นานาชาติ (International Ergonomics Association) ได้ให้คำยามดังนี้ “การยศาสตร์ เป็นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจของปฏิสัมพันธ์ (ณnteraction) ระหว่างมวลมนุษย์และปัจจัยอื่นๆ ของระบบ และเป็นวิชาชีพซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎี, หลักการ, ข้อมูลและวิธีการออกแบบเพื่อความเหมาะสม (Optimum) กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ และการทำงานเป็นระบบทั้งหมด”

HF&E ใช้เพื่อเติมเต็มจุดมุ่งหมายของสุขภาพและความปลอดภัยและผลผลิต (Productivity) เป็นเรื่องการออกแบบของ อาทิเช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ปลอดภัย และใช้ง่ายร่วม (Interface) กับเครื่องจักรและเครื่องมือ การออกแบบการยศาสตร์ที่เหมาะสมเป็นความจำเป็นที่จะป้องกันการบาดเจ็บกล้ามเนื้อซ้ำๆ (Repetitive strain injury) และความผิดปกติของกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal) ซึ่งสามารถเป็นมากขึ้นตลอดเวลา และจากนำไปสู่ความพิการ (Disability) ในระยะยาว

แหล่งข้อมูล:

  1. รพ.วชิระภูเก็ต จัดโครงการสร้างสุขภาพด้านการยศาสตร์ในสถานประกอบการ -http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000115447&Keyword=%ca%d8%a2%c0 %d2%be [2013, October 13].
  2. Human factors and ergonomics - http://en.wikipedia.org/wiki/Human_factors_and_ergonomics [2013, October 13].