ปอดอักเสบ มัยโคพลาสมา ที่น่ารำคาญ (ตอนที่ 4)

การติดเชื้อปอดอักเสบมัยโคพลาสมา จะมีความแตกต่างจากการติดเชื้อปอดอักเสบทั่วไป เนื่องจากวิวัฒนาของอาการจะช้ากว่ามาก ผลทดสอบเป็นบวกของเลือด แสดงการจับกลุ่มของเม็ดโลหิตแดงแบบไข้หวัด (Cold-hemagglutinins) ได้ในผู้ป่วยประมาณ 50–70% ช่วง 10 วันหลังการติดเชื้อ

แม้บางครั้งการติดเชื้อที่ปอดนี้จะบ่งบอกได้จากการที่แพทย์ฟังเสียงปอดด้วยสายหูฟัง สเต็ทโธสโคป (Stethoscope) เพื่อค้นหาเสียงผิดปกติ เสียงกรอบแกรบ (Crepitation) หรือเสียงหวีด (Wheezing) แต่ในบางรายก็อาจจะไม่แสดงความผิดปกติจากการฟังดังกล่าว ซึ่งควรยืนยันโรคได้ด้วยการถ่ายภาพปอดด้วยเอกซเรย์ และอื่นๆ

การวิเคราะห์จากการถ่ายภาพปอดด้วยเอกซเรย์ มักจะแสดงให้เห็นอาการปอดติดเชื้อ ก่อนจะสังเกตเห็นเอาการทางกายภาพของปอดอักเสบนอกแบบ เรียกว่า “ปอดอักเสบซ่อนเร้น” (Occult pneumonia) หากเด็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบอย่างถูกต้องครบถ้วนตามคำแนะนำแพทย์ ก็จะลดการเป็น “ปอดอักเสบซ่อนเร้น” ได้

การถ่ายภาพปอดด้วยเอกซเรย์ จะยืนยันการป่วยเป็นปอดอักเสบมัยโคพลาสมาได้ โดยแพทย์ก็จะต้องตรวจเช็คเลือดหาสารภูมิต้านทาน (Antibody) ของมัยโคพลาสมา การอักเสบของปอดมักเริ่มที่บริเวณจุดเริ่มต้นของหลอดลม (Perihilar) และอักเสบเป็นรูปลิ่มหรือใบพัดบริเวณรอบนอกของปอด ขบวนการมักจะเกี่ยวข้องกับปอดส่วนล่าง แต่ก็อาจมีผลกระทบส่วนอื่นด้วย

อาการที่อาจเกิดในช่วงติดเชื้อปอดอักเสบมัยโคพลาสมา ได้แก่ มีไข้ รู้สึกไม่ค่อยสบายกาย (Malaise) ไอแห้งๆ ปวดศีรษะ หนาวสั่นแต่ไม่ถึงสะท้าน มีอาการระคายคอ เจ็บคอ เจ็บหน้าอกจากการไอ และที่พบได้ไม่มากนักคืออาการเยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Pleuritis) ผู้ป่วยปอดอักเสบมัยโคพลาสมา มักจะหายได้ปกติในไม่กี่สัปดาห์ แม้อาการไอแห้งอาจยังคงอยู่เป็นเดือน หรือถึง 6 สัปดาห์

การตรวจปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (Polymerase chain reaction : PCR) โดยใช้การตรวจสารพันธุกรรม DNA (=Deoxyribonucleic acid) ของตัวอย่างสารคัดหลั่ง PCR มีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบนอกแบบ การตรวจที่ทันท่วงที (Real Time) จะบ่งชี้ปอดอักเสบมัยโคพลาสมา ระยะติดเชื้อได้ รวมถึงระยะเริ่มแรกที่การทดสอบน้ำเหลืองของเลือด (Serum) อาจไม่ได้ผล

หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยก็มักหายสนิทได้ แต่ปอดอักเสบมัยโคพลาสมา ก็อาจทำให้เกิดอาการปอดอักเสบรุนแรงในเด็กได้ และอาจก่อโรคทรวงอกรุนแรงเฉียบพลันในผู้ป่วยที่โลหิตจาง เพราะมีโลหิตรูปพระจันทร์เสี้ยว (Sickle cell) มากผิดปกติ

โดยทั่วไป เมื่อมีข้อบ่งชี้ทางกายภาพเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยมักจะดูดีกว่าที่อาการภายในร่างกายแสดงออก หากผู้ป่วยต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อจากสารคัดหลั่ง [เช่นสวมหน้ากากอนามัย] ตลอดเวลา

แหล่งข้อมูล :

  1. Mycoplasma Pneumonia. http://en.wikipedia.org/wiki/Mycoplasma_pneumonia [2012, June 27]
  2. Atypical Pneumonia. http://en.wikipedia.org/wiki/Atypical_pneumonia [2012, June 27]
  3. Mycoplasma Pneumonia. http://emedicine.medscape.com/article/1941994-overview#aw2aab6b2b5aa [2012, June 27]
  4. Mycoplasma Pneumonia. http://emedicine.medscape.com/article/1941994-clinical [2012, June 27]
  5. Mycoplasma Pneumonia. http://emedicine.medscape.com/article/1941994-clinical#a0256 [2012, June 27]
  6. Mycoplasma Pneumonia. http://emedicine.medscape.com/article/1941994-workup#a075 [2012, June 27]