ปอดอักเสบ มัยโคพลาสมา ที่น่ารำคาญ (ตอนที่ 2)

เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดมัยโคพลาสมา (Mycoplasma) จัดว่าเป็นเชื้อจุลินทรีย์หลากรูป (Pleomorphic) ที่ไม่มีผนังเซลล์เช่นแบคทีเรีย และก็ไม่ใช่ไวรัส เพราะไม่ต้องการเซลล์เจ้าบ้าน (Host) เพื่อการถ่ายแบบดีเอ็นเอ/DNA (Replication)

การไออย่างต่อเนื่อง ที่พบในเชื้อโรคนี้เกิดจากการยับยั้งการเคลื่อนไหวของเชื้อที่มีขน (Cilia) มีลักษณะเป็นเส้นใยละเอียดที่เคลื่อนไหวด้วยการโฉบร่อน ซึ่งทำให้สามารถหลบอยู่ในโพรงระหว่างขนกับเยื่อบุ (Epithelium) ทางเดินหายใจ และในที่สุดก็จะทำให้เนื้อเยื่อเซลล์บุทางเดินหายใจดังกล่าวเกิดการตายและลอกหลุด (Slough)

เชื้อจุลินทรีย์นี้มีคุณสมบัติ 2 อย่างที่มีผลต่อวิวัฒนาการของการเกิดโรค (Pathogenicity) นี้ในมนุษย์ อย่างที่หนึ่งคือความสัมพันธ์แนบแน่น (Affinity) กับเยื่อบุทางเดินหายใจ และอย่างที่สองคือความสามารถในการผลิตไฮโดรเจนเปอร็อกไซด์ (Hydrogen peroxide) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเชื้อจุลินทรีย์นี้ทำลายเซลล์ต้นกำเนิด ในระบบทางเดินหายใจและทำลายเยื่อหุ้มเม็ดโลหิตแดง (Erythrocyte) ด้วย

ปอดอักเสบมัยโคพลาสมา จะส่งผ่านระหว่างผู้แพร่เชื้อกับผู้ติดเชื้อได้ (Duplet) ทางสารคัดหลั่ง อาทิ เสมหะที่มาจากระบบทางเดินหายใจ โดยหลังจากเข้าไปในร่างกายผู้ติดเชื้อได้แล้ว ก็จะเติบโตและแพร่พันธุ์ ด้วยการแบ่งเซลล์ทีละ 2 ตัว (Binary fission)

วิวัฒนาการของเกิดโรคปอดอักเสบมัยโคพลาสมา เชื่อมกับโยงกับการปลุกฤทธิ์ (Activation) ของสื่อกลางการอักเสบ มีการศึกษาหนึ่ง รายงานการเกิดติดเชื้อจากการต้านยา แต่สรุปว่า ระบบคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเอง (Host) คือปัจจัยกำหนดความร้ายแรงของโรค โดยเชื้อจะระบาดได้ในกลุ่มคนทั้งที่เป็นเด็กและเป็นผู้ใหญ่

โรคปอดอักเสบมัยโคพลาสมา อาจนำมาซึ่งความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ตับอักเสบ (Hepatitis) เฉียบพลัน อาการจ้ำเขียวจากเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenic purpura) หรือระบบภูมิต้านตนเอง (Automimmune) ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัวจนเจืองจาง (Hemolytic anemia) โรคสตีเวน จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome) โรคข้ออักเสบ(Arthritis) และโรคไขสันหลังอักเสบ (Myelitis)

ปอดอักเสบมัยโคพลาสมา เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตด้วยตัวเองได้ (Free living) ที่เล็กที่สุดเท่าที่ทราบกัน มีขนาด 0.2-1.0 ไมโครเมตร หลังจากการติดเชื้อ ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ในการขับออก (Excrete) จากระบบทางเดินหายใจ การตรวจพบเชื้อนี้ (Isolation) เชื้อนี้ อาจไม่ได้บ่งชี้ถึงการติดเชื้อเฉียบพลันรุนแรง

ผู้ติดเชื้อปอดอักเสบมัยโคพลาสมา มักมีอายุต่ำกว่า 40 ปี แม้จะเป็นโรคที่ทุกวัยมีโอกาสติดเชื้อได้ เชื้อนี้จะพบน้อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่ที่มากที่สุดคือ ช่วงวัย 5- 20 ปี และผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงมักเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง

ข่าวต้นเรื่องเกี่ยวกับการระบาดของปอดอักเสบมัยโคพลาสมา ก็เข้าเกณฑ์นี้ครบถ้วน คือกองทหารเกณฑ์ กองพันทหารม้าที่ 7 (จ.อุตรดิตถ์) กรมทหารม้าที่ 2 (จ.เพชรบูรณ์) และกองทัพภาคที่ 3 (จ.พิษณุโลก) ที่ถูกกักบริเวณในโรงพยาบาลค่ายพระยาพิชัยดาบหัก 125 คน และเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์ เนื่องจากอาการรุนแรง ผู้ป่วยเป็นเพศชายทั้งหมด และอายุคือ 20 ปี

แหล่งข้อมูล :

  1. โรคระบาดในค่ายพิชัยดาบหัก http://www.matichon.co.th/news_dwtail.php?newsid=1338803755 [2012, June 25]
  2. Mycoplasma Pneumonia. http://emedicine.medscape.com/article/1941994-overview#a0104 [2012, June 25]
  3. Mycoplasma Pneumonia. http://emedicine.medscape.com/article/1941994-overview#aw2aab6b2b3aa [2012, June 25]
  4. Mycoplasma Pneumonia. http://emedicine.medscape.com/article/1941994-overview#a0156 [2012, June 25]