ปฏิบัติการในโรงพยาบาล - จากมุมมองของผู้บริหาร
ตอนที่ 59 : วิวัฒนาการห้องปฏิบัติการ

เช่นเดียวกับสาขาอื่นๆทางการแพทย์ ห้องปฏิบัติการได้วิวัฒนการมาอย่างรวดเร็ว โดยการทดสอบใหม่ๆ เกิดขึ้นในสาขาการวินิจฉัยโมเลกุล (Molecular diagnostics) อาทิ วิธีการนำตัวอย่าง/สิ่งส่งตรวจ (Specimen) ของผู้ป่วยมาตรวจหาลำดับฐานของ RNA (=Ribonucleic acid)/(DNA (=Deoxyribonucleic acid) โดยเฉพาะ

การวิเคราะห์ ณ ระดับโมเลกุล สามารถค้นพบโรค และโอกาสที่วิวัฒนาโรคเฉพาะในอนาคต แล้วยังสามารถค้นพบการปลุกฤทธิ์ (Activation) ของยีน/จีนมะเร็ง (Oncogene) บางตัว ซึ่งแตกตัวเซลล์ในลักษณะที่ควบคุมไม่ได้ และสามารถค้นพบการสูญเสียการทำงานของยีน/จีน หลายตัวที่สามารถยับยั้งเนื้องอก (Tumor suppressor) และซ่อมแซม DNA รวมทั้ง BRCA1 และ BRCA2 ซึ่งเป็นยีน/จีน 2 ตัว ที่สัมพันธ์กับโอกาสสูงของการเกิดมะเร็งเต้านม (Breast cancer)ในสตรี

การทดสอบปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอร์ (Polymerase chain reaction : PCR) ก็กำลังเป็นที่นิยมในห้องปฏิบัติการที่ใช้อ้างอิง (Reference laboratory) PCR โดยเป็นการทดสอบที่ค้นหาลำดับฐานของ DNA หรือ RNA โดยเฉพาะเพื่อค้นหาเผ่าพันธุ์ของแบคทีเรียหรือไวรัสที่อยู่ในตัวอย่างจากผู้ป่วย

การทดสอบชนิดนี้สามารถลดเวลาที่ใช้ในการรอผลลัพธ์ (Outcome) ได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยโดยปริยาย การวิจัยและพัฒนาที่ต่อเนื่อง ทำให้ประสิทธิภาพของการทดสอบ PCR เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และต้นทุนค่อยๆ ต่ำลง ดังนั้น เป็นที่คาดกันว่า การทดสอบ PCR จะกลายเป็นวิธีการประจำ (Routine) ในห้องปฏิบัติการ ในเร็ววันนี้

ในปัจจุบัน วิธีการมาตรฐานในจุลวิทยาทางการแพทย์ (Clinical biology) ก็คือ การเพาะเชื้อ (Culture) แบคทีเรีย หลายวันหรือหลายสัปดาห์ ในเครื่องเพาะเชื้อ (Incubator) แล้วใช้เวลาอีก 1 หรือ 2 วันในการค้นหาจุลชีพ (Organism) เพื่อเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา (Antibiotic treatment)

อีกวิวัฒนาการหนึ่งของปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัด คือ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Bio-marker) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่สามารถค้นพบได้ในเลือดของผู้ป่วย เพื่อยืนยันการวินิจฉัย หรือ (ในหลายๆ กรณี) พยากรณ์ความเสี่ยงของโรคในอนาคตอันใกล้ สาขาหนึ่งของการวิจัยที่น่าสนใจก็คือ ตัวบ่งชี้การอักเสบทางชีวภาพ (Inflammatory biomarker)

ตัวอย่างเช่น โมเลกุลที่ผลิตโดยเซลล์เม็ดเลือดขาว อันสัมพันธ์กับการสะสมของไขมันที่ผิวหน้าของหลอดเลือด (Atherosclerotic plague) ซึ่งเข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจนั้น อาจเป็นอันตรายแกชีวิต หากเกิดการฉีกขาด (Rupture) การเพิ่มขึ้นของระดับตัวบ่งชี้นี้ แสดงว่า ชั้นบุ (Lining) ในส่วนบนของการสะสมไขมันดังกล่าวมีโอกาสสูงในการฉีกขาด ดังนั้น การค้นพบเช่นนี้ สามารถช่วยในการป้องกันโรคภัยแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะกลายเป็นบทบาทสำคัญของห้องปฏิบัติการในอนาคต

ผมขอเชิญชวนคุณผู้อ่านให้ (1) เขียนมาสอบถามเนื้อหาที่มีข้อสงสัย เพื่อความกระจ่างขึ้น (2) ชี้แนะข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือสิ่งขาดตกบกพร่อง เพื่อการแก้ไขให้ถูกต้อง (3) แสดงความคิดเห็นในแต่ละตอน ทั้งติและชม เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น และ (4) แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของคุณผู้อ่าน เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนร่วมกัน ครับ

แหล่งข้อมูล:

  1. Griffin, Donald J. (2012). Hospitals : What They Are and How They Work (4th Ed). Sudbury, MA : Jones & Bartlett Learning.
  2. ประสบการณ์จากเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลประสานมิตร (มูลนิธิสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย) และศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ (โรงพยาบาลรามาธิบดี)