ทำไมหัวใจต้องล้มเหลว (ตอนที่ 5)

ทำไมหัวใจต้องล้มเหลว
  • การผ่าตัดติดตั้งเครื่องที่สามารถช๊อคไฟฟ้าได้เองเมื่อผู้ป่วยมีการเต้นหัวใจที่ผิดปกติอย่าง Implantable cardioverter defibrillator (ICDs) เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นตามจังหวะปกติ โดยเครื่องนี้จะทำหน้าที่เหมือนเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) กรณีที่หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ และเพิ่มความสามารถที่จะทำให้หัวใจห้องล่างที่เต้นเร็วผิดปกติชนิดร้ายแรง ให้กลับมาเต้นเป็นปกติได้ด้วยการช็อคหรือกระตุกหัวใจ
  • การผ่าตัดติดตั้งเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวประสานงานดีขึ้น ที่เรียกว่า Cardiac resynchronization therapy (CRT)
  • การติดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปั๊มเลือด (Heart pumps) ทดแทนการบีบตัวของหัวใจ ที่เรียกว่า Ventricular assist devices (VADs) ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะติดตั้งที่ปั๊มเลือดให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำการปลูกถ่ายหัวใจ หรือผู้ป่วยที่กำลังรออวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายหัวใจ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ (Heart transplant)

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเองจะช่วยผ่อนคลายภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ทำให้แย่ลง โดยปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งได้แก่

  • หยุดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นการทำร้ายหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูง ลดปริมาณของออกซิเจนในเลือด และทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
  • รักษาความสมดุลของของเหลวในร่างกายที่ได้จากการกินหรือดื่ม และการปัสสาวะออก เพราะยิ่งมีน้ำมากเท่าไร หัวใจจะทำงานหนักขึ้นในการนำของเหลวไปทั่วร่างกาย
  • รักษาน้ำหนักตัวให้พอดี การมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจหมายถึงการมีของเหลวคั่งในร่างกายมากขึ้น ดังนั้นควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษากรณีที่มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากปกติ
  • สังเกตุความผิดปกติของขา ข้อเท้า และเท้าทุกวัน ว่ามีอาการบวมหรือไม่
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ อย่างผัก ผลไม้ ธัญพืช ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ
  • จำกัดปริมาณเกลือในอาหาร เพราะโซเดียมที่มากจะทำให้เกิดอาการคั่งน้ำ ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และเป็นสาเหตุให้หายใจลำบาก ขาและเท้าบวม (ควรจำกัดการบริโภคเกลือไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน)
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อทางเดินหายใจ ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันหวัดและปอดอักเสบ (Influenza and pneumonia vaccinations) กรณีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
  • จำกัดปริมาณไขมันและคลอเรสเตอรอล เพราะเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
  • จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ เพราะอาจมีปฎิกริยากับยาที่กิน ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหัวอ่อนแรงและหัวใจเต้นผิดปกติ
  • อย่าซื้อยากินเอง
  • ระวังอาหารเสริมที่อาจมีปฎิกริยากับยาที่กินอยู่
  • ออกกำลังกาย
  • ลดความเครียด เพราะความเครียดจะทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ มีความดันโลหิตสูง
  • นอนหลับพักผ่อน โดยหนุนศีรษะด้วยหมอน
  • คอยสังเกตุดูอาการของตัวเอง

แหล่งข้อมูล

  1. Heart Disease and Congestive Heart Failure. http://www.webmd.com/heart-disease/guide-heart-failure [2015, September 29].
  2. Heart failure. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-failure/basics/definition/con-20029801 [2015, September 29].