ถึงอ่านไม่ออก ก็ใช่ว่าจะโง่ (ตอนที่ 2)

ถึงอ่านไม่ออกก็ใช่ว่าจะโง่

เมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียน อาการที่ปรากฏอย่างเด่นชัด ได้แก่

  • อ่านหนังสือได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
  • มีปัญหาในเรื่องการประมวลและเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน
  • มีปัญหาในการจัดลำดับสิ่งของ
  • แยกแยะความแตกต่างของสิ่งที่มองหรือได้ยินได้อย่างลำบาก
  • ไม่สามารถออกเสียงคำที่ไม่คุ้นเคย
  • สะกดคำได้ยาก
  • มีปัญหาในการเรียนภาษาต่างประเทศ
  • สามารถตอบคำถามด้วยปากเปล่า แต่มีปัญหาเรื่องการเขียนคำตอบ
  • เขียนได้ช้า
  • ลายมือแย่

เมื่อโตเป็นวัยรุ่นและผู้ใหญ่จะมีอาการ

  • อ่านลำบาก
  • ยากในการเข้าใจคำเฉพาะ เช่น สำนวนโวหาร (Idioms)
  • มีปัญหาในการจัดการเรื่องเวลา
  • มีปัญหาในการสรุปเรื่อง
  • มีปัญหาในการเรียนภาษาต่างประเทศ
  • มีปัญหาด้านความจำ เช่น รหัสผ่าน หรือ เบอร์โทรศัพท์
  • มีปัญหาในการแก้โจทย์คำนวณ

โรคความบกพร่องในการอ่านหนังสือมักจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองโง่ ตามเพื่อนไม่ทัน จึงหลีกเลี่ยงที่จะอ่านหนังสือ ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

  • ปัญหาในการเรียนรู้ (Trouble learning)
  • ปัญหาสังคม เพราะเมื่อไม่ได้รับการดูแล โรคนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาเรื่องพฤติกรรม การก้าวร้าว การแยกตัวออกจากหมู่เพื่อน ครู และครอบครัว
  • มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคสมาธิสั้น (Attention-deficit/hyperactivity disorder = ADHD) ซุกซนอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) และหุนหันพลันแล่น (Impulsive behavior)
  • มีความบกพร่องทางการคิดคำนวณ (Dyscalculia)
  • มีปัญหาในการจัดการ (Poor organization) และการจัดเวลา (Time-management)
  • มีปัญหาในการวางแผนการเคลื่อนไหว (Dyspraxia)

แหล่งข้อมูล

1. Dyslexia. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dyslexia/basics/definition/con-20021904 [2016, August 19].

2. Understanding Dyslexia. http://kidshealth.org/en/parents/dyslexia.html [2016, August 19].

3. Dyslexia. http://www.nhs.uk/conditions/Dyslexia/Pages/Introduction.aspx [2016, August 19].