ถั่วเหลืองกับสุขภาพ ตอน 2 คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองกับสุขภาพ-2

      

เมนูอร่อย สไตล์สุขภาพ

      

ถั่วเหลืองกับสุขภาพ

ตอน 2 คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

      

      ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นแหล่งอาหารจากพืชที่มีโปรตีนสูง นิยมนำมาแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง และถั่วลิสง จากการสำรวจการบริโภคเฉลี่ยของคนที่บริโภค ประมาณ 57-88 กรัม/วัน นิยมนำมาแปรรูปเป็นอาหารว่าง อาหารหวาน และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น นมถั่วเหลือง เต้าฮวย เต้าหู้แข็ง และเต้าหู้อ่อน ปริมาณสารอาหารที่วิเคราะห์ได้ในเมล็ดถั่ว ประกอบด้วยสารอาหารหลักที่สำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ รวมทั้งสารที่มีผลต่อสุขภาพในปริมาณสูง เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพของอาหารเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ แม้จะมีกรดอะมิโนบางชนิดน้อย แต่สามารถเลือกรับประทานร่วมกับธัญพืชชนิดอื่นที่ให้ได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ยังมีคาร์โบไฮเดรตชนิดดีต่อสุขภาพมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำตาลที่ช้าและสม่ำเสมอ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ถั่วเหลืองเป็นพืชอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของมนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ถั่วเหลืองประกอบด้วยโปรตีน 35% ไขมัน 20% ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีใยอาหาร รวมทั้งแร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซียม เหล็ก (แต่การนำไปใช้ในร่างกายอาจถูกขัดขวางโดยสารต้านโภชนาการ) และวิตามินบี1

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลืองเมื่อเทียบกับถั่วเมล็ดแห้งอื่น (คิดต่อ 100 กรัม ของถั่วเมล็ดแห้ง)
รายการ
Energy
Kcal.
Moist
g.
Protein
g.
Fat
g.
CHO
g.
DF
g.
Ash
g.
Ca
mg.
P
mg.
Fe
mg.
B1
mg.
B2
mg.
Niacin
mg.
ถั่วเหลือง
339
7.8
35.7
16.5
12.1
22.0
6.0
394
607
12.3
0.93
0.33
2.9
ถั่วลิสง
522
4.4
24.8
46.1
2.0
20.1
2.6
52
458
11.5
1.68
0.15
32.5
ถั่วเขียว
248
9.4
22.8
1.5
35.7
36.2
4.4
116
300
10.3
0.80
0.25
2.0
ถั่วแดง
276
9.8
22.8
2.1
41.4
19.7
4.2
74
409
11.4
0.95
0.31
3.9
ถั่วดำ
276
9.8
22.8
2.1
41.4
19.7
4.2
74
409
11.4
0.95
0.31
3.9
ถั่วแดงหลวง
252
12.1
20.3
1.2
37.4
25.4
3.6
86
NA
6.9
0.46
0.18
2.0

      

แหล่งข้อมูล:

  1. ศิริพร ตันจอ.การเตรียมและการประกอบอาหารเพื่อการปรับปรุงคุณภาพของสารอาหารในถั่วเมล็ดแห้ง. ว.โภชนาการ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2561];47:31.เข้าถึงได้จาก: https://www.nutritionthailand.org/phocadownload/.../2555/วารสารโภชนาการ%2055-1...
  2. อาณดี นิติธรรมยง,ประไพศรี ศิริจักรวาล. ถั่วเหลืองกับสุขภาพ.บทความด้านอาหารและโภชนาการ สถาบันโภชนาการ [อินเตอร์เน็ต]. 2010 [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2561]; 2-3. เข้าถึงได้จาก: www.inmu.mahidol.ac.th/th/knowledge/view.php?id=68