ติดเชื้อในร่มผ้า ยามหน้าฝน (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

นพ.ก้องศาสดิ์ ดีนิรันดร์ สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1 กล่าวว่าเสริมในส่วนของการป้องกัน ว่าควรหลีกเลี่ยงการเลือกใส่ชุดชั้นในที่แน่นคับเกินไป ทำให้การระบายอากาศไม่ดี และควรเลือกเนื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดีไม่อุ้มน้ำ ไม่หนาหนัก เช่น ผ้าฝ้าย และหมั่นตรวจดูชุดชั้นใน อยู่เสมอว่ามีจุดเล็กๆ หรือมีรอยของเชื้อโรคหรือไม่ หากมีควรทิ้งทันที ไม่ควรเสียดาย ที่สำคัญควรซักชุดชั้นในให้สะอาดและแห้ง พยายามให้โดนแดดบ้างหรือผึ่งให้แห้งในที่ระบายอากาศได้ดี

วิธีที่ป้องกันการติดเชื้อซ้ำอีกอาจทำได้โดย

  • กินโยเกิรต์ที่มีเชื้อแบคทีเรีย Lactobacillus acidophilus
  • กินนมเปรี้ยวหรืออาหารเสริมที่ใส่เชื้อแบคทีเรียจำพวก Lactobacillus acidophilus
  • หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงแน่นคับ และใส่กางเกงชั้นในผ้าฝ้าย เพื่อให้มีการระบายอากาศและเย็น เพราะเชื้อราชอบความชื้นและสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น

การติดเชื้อราเป็นสิ่งปกติ ผู้หญิงประมาณร้อยละ 75 จะมีการติดเชื้อราในช่องคลอดอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต และผู้หญิงประมาณร้อยละ 45 จะมีการติดเชื้อ 2 ครั้งหรือมากกว่า แม้ว่าคุณอาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการติดเชื้อได้ แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงได้ดังนี้

  • ส่วมชุดชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้าย หรืออย่างน้อยใส่กางเกงในที่มีผ้าฝ้ายอยู่ตรงเป้ากางเกง หลีกเลี่ยงความชื้นที่เกิดจากร่างกาย เพราะเชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ชื้น
  • หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงแน่นคับ เพื่อให้มีการระบายอากาศและแห้งเย็น
  • หลีกเลี่ยงการใส่ถุงน่องไนลอนทุกวัน ถ้าต้องใส่ควรเลือกชนิดที่มีส่วนผสมของฝ้ายเพื่อให้ดูดซึมความชื้นออกจากร่างกายได้
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าหรือชุดว่ายน้ำที่เปียกให้เร็วที่สุด เพราะความชื้นเป็นสิ่งที่เอื้อต่อการเจริญของเชื้อรา
  • ห้ามสวนล้างช่องคลอด เพราะการสวนล้างช่องคลอดสามารถทำให้เชื้อรากระจายไปยังปากมดลูกและเข้าไปในมดลูกได้ และห้ามใช้แป้งที่มีกลิ่น ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดที่มีกลิ่น หรือใช้สเปรย์ดับกลิ่นเฉพาะที่ของผู้หญิง เพราะสิ่งเหล่านี้อาจมีส่วนผสมของสารเคมีและน้ำหอมที่อาจทำให้เกิดการเสียสมดุลของแบคทีเรียที่ดีในช่องคลอด
  • หลังการเข้าห้องน้ำ ให้เช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปหลังเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อของแบคทีเรียจากทวารหนักไปยังช่องคลอด
  • ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อรา เพราะระดับกลูโคสที่สูงจะทำง่ายต่อการติดเชื้อทุกชนิด
  • กินโยเกิรต์ที่มีเชื้อแบคทีเรีย Lactobacillus acidophilus ซึ่งเป็นมิตรกับร่างกาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อ อย่างไรก็ดีมีบทวิจัยบางแห่งที่ระบุว่า ผู้หญิงที่กินผลิตภัณฑ์ที่มีเชื้อ แบคทีเรียดังกล่าวก็ยังมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อซ้ำ
  • ให้ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีรักษาป้องกันการติดเชื้อระหว่างการรับยาปฏิชีวนะ กรณีที่ท่านมีการติดเชื้อในช่องคลอดหลังการรับยาปฏิชีวนะ
  • พยายามกินอาหารที่มีประโยชน์และไม่เครียด

แหล่งข้อมูล:

  1. ชุดชั้นในเปียก อับชื้น คันคะเยอ บ่อเกิดโรค? http://manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9550000093326&Keyword=%e2%c3%a4 [2012, August 17].
  2. Yeast Infections: Should You Treat Yourself, or See a Doctor? http://women.webmd.com/yeast-infections-should-you-treat-yourself-or-see-a-doctor [2012, August 17].
  3. 10 Ways to Prevent Yeast Infections. http://women.webmd.com/10-ways-to-prevent-yeast-infections [2012, August 17].