ตัวรับเซโรโทนิน (Serotonin receptor)

บทความที่เกี่ยวข้อง
ตัวรับเซโรโทนิน

ตัวรับเซโรโทนิน(Serotonin receptor หรือ 5-hydroxytryptamine receptors ย่อว่า 5HT receptor)คือ สารโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในระบบประสาทส่วนกลางและที่ระบบประสาทส่วนปลาย โดยทำหน้าที่กระตุ้นหรือต้านการทำงานของสารสื่อประสาท ที่ชื่อเซโรโทนิน(Serotonin หรือ 5-hydroxytryptamine ย่อว่า 5HT) ดังนั้นตัวรับเซโรโทนินจึงเกี่ยวพันกับ อารมณ์ต่างๆ เช่น ก้าวร้าว วิตกกังวล ความหิว/ความยากอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน การนอนหลับ อุรหภูมิร่างกาย ตลอดจนถึง ความจำ และความสามารถในการเรียนรู้ ซึ่งตัวรับเซโรคโทนินจะเป็นเป้าหมาย/กลไกในการทำงานของยาต่างๆหลายประเภท เช่น ยารักษาทางจิตเวช ยาแก้คลื่นไส้ ยาเพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ยาไมเกรน ยาที่ทำให้เคลิบเคลิ้ม(Entactogens) ยาที่ทำให้เกิดประสาทหลอน(Hallucinogens)

ตัวรับเซโรโทนินแบ่งเป็น 7 ชนิดย่อย คือ 5HT1 receptor, 5HT2 receptor , 5HT 3 receptor, 5HT 4 receptor, 5HT 5 receptor, 5HT 6 receptor, และ 5HT 7 receptor, ที่ทำหน้าที่ ที่อาจเหมือน/ช่วยกัน หรือที่ต่างกัน เพื่อช่วยเพิ่มการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และอาจเฉพาะเจาะจงขึ้น

นอกจากนี้ ตัวรับ 5HT ย่อยทั้ง 7 ยังแบ่งได้เป็นตัวย่อยๆลงไปอีก ที่ทำหน้าที่ ละเอียดขึ้น(เช่น 5HT 1F เกี่ยวข้องกับไมเกรน เป็นต้น) เช่น 5HT 1A receptor, 5HT 1B receptor, 5HT 1D receptor , 5HT 1E receptor, 5HT 1F receptor, 5HT 2A receptor, 5HT 2B receptor , 5HT 2C receptor, 5HT 5A receptor, 5HT 5B receptor

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/5-HT_receptor [2018,Feb17]