ชุดปฐมพยาบาลเบื่องต้น (ตอนที่ 2)

นางอุษณีย์ ตันตินิติ ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานกลยุทธ์กิจการเพื่อสังคม บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพราะการดูแลด้านสุขภาพและสาธารณสุข เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เยาวชนเจริญเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต บริษัทจึงร่วมกับมูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา จัดให้มีการรณรงค์ “โครงการตู้ยาโรงเรียน” อันเป็นชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First aid kit) ในโรงเรียน

ในสมัยใหม่ ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น จะแยกแยะตามวัตถุประสงค์เฉพาะ อาทิ ชุดปฐมพยาบาลอาการทางเดินหายใจและการหมุนเวียนของอากาศ (ABC : Airway, Breathing, and Circulation) อาจประกอบด้วยสิ่งป้องกันการติดเชื้อ (Infection barrier) อุปกรณ์ช่วยการหายใจ (Artificial respiration) อุปกรณ์การกู้ชีวิต (Cardiopulmonary resuscitation) อาทิ กระบังหน้านิรภัย (Face shield) และหน้ากากสำหรับการกู้ชีวิต (Pocket mask)

ชุดปฐมพยาบาลระดับสูงขึ้นไปอีก อาจประกอบด้วยรายการต่างๆ อันได้แก่ ชุดช่วยหายใจทางปากและลำคอ (Oro-pharyngeal airway) ชุดหายใจทางจมูก (Nasopharyngeal airway) หน้ากากที่มีลิ้นเปิดปิด(Valve mask) เครื่องช่วยหายใจ (Aspirator) เครื่องดูดของเหลวออกจากร่างกาย (Suction unit) เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดต่างๆ และเครื่องหูฟัง (Stethoscope)

ชุดปฐมพยาบาลสำหรับการบาดเจ็บรุนแรง อาทิ เมื่อ เลือดไหล (Bleeding) กระดูกหัก (Bone fracture) หรือแผลไหม้ (Burn) มักประกอบด้วย 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ผ้าพันแผล (Bandage) วัสดุทำแผล (Wound dressing) และอื่นๆ

ในประเภทแรก จะมีพลาสเตอร์ปิดแผลแถบกาว (Adhesive bandage) ซึ่งมีรูปแบบที่ปรับไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาทิ ข้อพับนิ้ว (Knuckle) หรือการรักษาและป้องกันตุ่มพอง (Blister) แล้วยังมีผ้าก็อซเป็นม้วน (Gauze roller)ใช้ดูดซึมได้ หายใจผ่านได้ และมักยืดหยุนได้ (Elastic) ผ้าปิดแผลแถบกาวที่ม้วนได้ (Adhesive roller) ซึ่งทนทาน กันน้ำได้ ยืดหยุ่นได้ และผ้าปิดแผลรูปสามเหลี่ยม (Triangular bandage) ใช้เป็นสายโยงแขวน (Sling) หรือสายรัดห้ามเลือด (Tourniquet) เพื่อผูกเป็นเครื่องดาม (Splint)

ส่วนในประเภทสอง จะมีวัสดุทำแผล โดยเฉพาะปราศจากเชื้อ (Sterile) ซึ่งใช้กับผ้าปิดตา (Eye pad) ชั้นรองที่ทำด้วยสารเทฟลอน (Teflon) หรือสารขี้ผึ้งหล่อลื่น (Petrolatum) ใช้ปิดปากแผล (Occlusive) ให้แน่น (Air-tight) เป็นต้น

ประเภทอื่นๆ ได้แก่ แถบปิดแผล (Closure strip) ใช้เหมือนการเย็บแผลด้วยเข็ม (Stitch) เพื่อปิดล้อมแผลติดเชื้อที่อาจยังไม่ได้ทำความสะอาด น้ำเกลือเพื่อทำความสะอาดแผลหรือล้างสิ่งแปลกปลอม (Foreign bodies) ออกจากตา เป็นต้น และน้ำสบู่ เพื่อทำความสะอาดแผลที่ผิวหนัง (Superficial wound) หลังจากเลือดหยุดไหลแล้ว นอกจากนี้ ยังมีผ้าบุรองปราศจากเชื้อ (Sterile pad) ชุบวุ้นเย็น (Cooling gel) สำหรับแต่งแผลไหม้ เทปแถบกาว (Adhesive tape) ปิดแผล ที่ไม่ระคายผิวหนัง (Hypoallergenic) และวัสดุห้ามเลือด (Hemostatic agent) ในกรณีเลือดไหลไม่หยุด โดยเฉพาะที่ใช้ในการทหารซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ชุดยุทธวิธี” (Tactical kit)

แหล่งข้อมูล:

  1. ตู้ยาโรงเรียนหวังเด็กสุขภาพดี http://www.dailynews.co.th/article/729/151476 [2012, August 30].
  2. First aid kit. http://en.wikipedia.org/wiki/First_aid_kit [2012, August 30].