“ชัก” เป็นเรื่อง (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

ชักเป็นเรื่อง

บางทีก็ไม่พบสาเหตุของการชัก หรือที่เรียกว่า Idiopathic seizures ซึ่งมักพบในเด็กและวัยรุ่น และหากการชักเกิดขึ้นซ้ำๆ หลังการรักษา เราจะเรียกว่าเป็น โรคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู (Epilepsy)

ส่วนใหญ่อาการชักมักจะหยุดเอง แต่ระหว่างที่ชักผู้ป่วยอาจได้รับบาดเจ็บได้ ดังนั้นหากพบผู้ที่ชัก สิ่งสำคัญคือ ให้ป้องกันผู้ป่วยจากการได้รับบาดเจ็บ เช่น

  • พยายามอย่าให้หกล้ม ให้ผู้ป่วยนอนบนพื้นที่ปลอดภัยจากเฟอร์นิเจอร์หรือวัตถุมีคม
  • หนุนศีรษะผู้ป่วย
  • คลายเครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะบริเวณรอบคอ
  • หันผู้ป่วยให้นอนตะแคง เผื่อว่ามีการอาเจียนจะได้ไม่สำลัก

สิ่งที่ไม่ควรทำ ได้แก่

  • อย่าพยายามควบคุมผู้ป่วยไม่ให้ชัก เพราะผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวว่าอะไรเกิดขึ้นขณะนั้น
  • อย่าพยายามนำวัสดุใดๆ ใส่เข้าไปในช่องปากผู้ป่วยขณะชัก
  • อย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนอกจากผู้ป่วยจะอยู่ในที่อันตราย
  • อย่าให้อะไรทางปากผู้ป่วย จนกว่าจะหยุดชักและรู้สึกตัว
  • อย่าปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CardioPulmonary Resuscitation: CPR) จนกว่าจะหยุดชัก หรือผู้ป่วยไม่หายใจ หรือไม่มีสัญญาณชีพจร (Pulse)

หากเด็กทารกหรือเด็กเล็กชักระหว่างที่มีไข้สูง ค่อยๆ เช็ดตัวเด็กด้วยน้ำค่อนข้างอุ่น (Lukewarm water) ห้ามนำเด็กลงในอ่างน้ำเย็น อาจให้ยา Acetaminophen เมื่อเด็กรู้สึกตัว

วิธีทดสอบถึงอาการชัก อาจทำได้โดย

  • การตรวจเลือด (Blood tests)
  • การทำซีทีสแกนหรือเอ็มอาร์ไอบริเวณศีรษะ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือที่เรียกย่อๆ ว่า อีอีจี (Electroencephalo graphy = EEG)
  • การเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture / spinal tap)

และควรทำการตรวจเพิ่มเติมหาก

  • มีอาการชักอีกโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน
  • เป็นโรคลมบ้าหมู

แหล่งข้อมูล

  1. Seizures. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003200.htm [2015, August 31].