ชักเพราะ “ลมบ้าหมู” (ตอนที่ 3)

ชักเพราะ-ลมบ้าหมู

กรณีที่พบว่าเป็นโรคลมชัก ควรรีบรักษาทันทีทันใด ซึ่งมีประมาณร้อยละ 70 ที่สามารถรักษาด้วยการกินยาและผ่าตัด ซึ่งการรักษาโรคลมชักแพทย์มักเริ่มด้วยการให้ยา หากไม่ได้ผลอาจใช้วิธีผ่าตัดหรือวิธีอื่น

การให้ยากันชัก (Anti-epileptic medication) ต้องพิจารณาถึงหลายปัจจัย เช่น ความถี่ในการชัก อายุ และการทำปฏิกริยา (Interact) กับยาอื่นด้วย ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคลมชักสามารถหยุดยาได้ภายหลัง 2 ปีขึ้นไปหากไม่มีอาการชักอีก

ทั้งนี้ยากันชักอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอ่อนๆ ได้ดังนี้

  • เหนื่อยล้า (Fatigue)
  • เวียนศีรษะ (Dizziness)
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • ความหนาแน่นในกระดูกลดลง
  • ผิวหนังเป็นผื่นคัน ปัญหาเรื่องการใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว (Loss of coordination)
  • ปัญหาในการพูด (Speech problems)
  • ปัญหาเรื่องความจำและความคิด (Memory and thinking problems)

กรณีผลข้างเคียงที่รุนแรง (แต่ไม่ค่อยพบ) ได้แก่

  • หดหู่ซึมเศร้า (Depression)
  • อยากฆ่าตัวตาย
  • เป็นผื่นคันอย่างรุนแรง
  • อวัยวะอักเสบ เช่น ตับอักเสบ

ดังนั้นเพื่อควบคุมการชักให้ได้ผล ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • กินยาตามแพทย์สั่ง
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนทำการเปลี่ยนยาหรือใช้ยาอื่น
  • ห้ามหยุดยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • แจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับอารมณ์หรือพฤติกรรม เช่น หดหู่ซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากเป็นโรคไมเกรน เพราะแพทย์อาจสั่งยากันชักชนิดที่รักษาไมเกรนได้ด้วย

การผ่าตัดเป็นสิ่งที่นิยมทำเมื่อผลตรวจระบุว่าต้นเหตุของการชักอยู่ในบริเวณสมองส่วนที่ไม่สำคัญ (ไม่ใช่สมองส่วนที่ควบคุม การพูด ภาษา การเคลื่อนไหว การเห็น หรือการได้ยิน) และแพทย์จะทำการผ่าสมองส่วนนั้นออก

แหล่งข้อมูล

  1. Epilepsy. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/epilepsy/home/ovc-20117206 [2015, September 3].
  2. NINDS Epilepsy Information Page. http://www.ninds.nih.gov/disorders/epilepsy/epilepsy.htm [2015, September 3].