จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 72 : สมองกลีบขมับ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เขตบร็อคค่า (Broca’s area) มักอยู่ ณ ด้านซ้ายของสมองกลีบหน้า (Frontal lobe) เป็นอาณาบริเวณที่จำเป็นต่อการรวมเสียง (Sound) ให้เป็นคำ (Word) และเรียบเรียงคำให้เป็นประโยค (Sentence) ที่มีความหมาย (Meaningful) หากอาณาบริเวณนี้ถูกทำลาย ส่งผลให้เกิด “ภาวะการสูญเสียการสื่อความ” (Aphasia) กล่าวคือ เราไม่สามารถพูดประโยคได้อย่างคล่องปาก (Fluent) แต่เข้าใจคำพูดหรือเขียน

เหตุผลที่การพูดและเรียบเรียง (Arrange) เป็นประโยคเกิดขึ้นตามธรรมชาติในเด็กเล็ก ก็คือบร็อคค่าเขาได้รับการโปรแกรมทางพันธุกรรม (Genetically programmed) ให้ทำงานชิ้นนี้โดยตรง หากถูกทำลาย ผู้ที่สูญเสียการสื่อความ ก็จะลำบากในการเรียบเรียงคำพูดให้เป็นประโยค

ตัวอย่างเช่น การถามผู้ป่วยว่า “คุณมาทำอะไรในโรงพยาบาล?” แล้วผู้ป่วยตอบเป็นเสียงอู้อี้จนจับใจความไม่ได้ แต่ใจความที่ต้องการสื่อสารจะเป็น “ผมมาพบนักกายภาพบำบัด เวลาบ่ายโมง เพื่อฝึกพูด อ่าน และเขียน และผมรู้สึกว่ากำลังดีขึ้น ครับ”ผู้ป่วยที่มีอาการสูญเสียการสื่อความ ไม่สามารถพูดได้คล่องปาก แต่ยังสามารถเข้าใจคำพูดและประโยค เนื่องจากอาณาบริเวณที่ 2 ในสมองกลีบขมับ นั่นเอง

ในขั้นตอนแรกของการพูด คือการใช้เขตบร็อคค่า ในการรวม (Combine) เสียง ให้เป็นคำและเรียบเรียงคำให้เป็นประโยค ขั้นตอนที่ 2 คือการเข้าใจประโยค ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “เขตเวอร์นิเก้” (Wernicke’s area) ที่มักอยู่ด้านซ้ายของสมองกลีบขมับ เป็นอาณาบริเวณที่จำเป็นต่อการพูดในประโยคที่เชื่อมโยงกัน (Coherent) และสำหรับการเข้าใจการพูด (Speech)

หากอาณาบริเวณนี้ถูกทำลาย ส่งผลให้เกิดภาวะการสูญเสียการสื่อความ กล่าวคือเกิดความลำบากในการเข้าใจคำพูดหรือเขียน รวมทั้งไม่สามารถเรียบเรียงประโยคที่ไร้ความหมาย เขตเวอร์นิเก้ เป็นอาณาบริเวณที่สำคัญ (Critical) ต่อการรวมคำให้เป็นประโยคที่มีความหมาย (Meaningful) และสามารถพูดอย่างเชื่อมโยงกันได้

งานวิจัยหนึ่งแสดงผลว่า เกือบทุกกรณีของผู้ที่ถนัดมือขวา (Right-handed) (96%) และส่วนใหญ่ (Vast majority) ของผู้ที่ถนัดมือซ้าย (Left-handed) (70%) เขตบร็อคค่าและเขตเวอร์นิเก้ อยู่ในสมองซีกซ้าย (Left hemisphere) ส่วนเปอร์เซ็นต์ที่เหลือของผู้เข้ารับการจัย มีทั้ง 2 เขตนี้อยู่ในสมองซีกขวา (Right hemisphere)

เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์อื่นๆ มนุษย์ต้องพึ่งพาข้อมูลในการมองเห็น (Visual information) ค่อนข้างมาก ข้อมูลดังกล่าวจะถูกประมวลโดยสมองกลีบท้ายทอย (Occipital lobe)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. 2. Parietal lobe - https://en.wikipedia.org/wiki/Parietal_lobe [2016, August 27].