จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 50 : สารสื่อประสาท (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ความรู้สึกที่รุนแรง (Strong emotion) เป็นสาเหตุของการปลดปล่อย (Release) สารสื่อประสาทที่กระตุ้น (Excitatory) ซึ่งไขกลอนทางเคมี (Chemical lock) ให้เปิดออกสู่กล้ามเนื้อหัวใจ และเป็นสาเหตุของการเต้น (Beat) ของหัวใจที่เร็วขึ้น

ดังนั้น เมื่อเราโกรธจัด สารสื่อประสาทที่กระตุ้น จะเป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นเป็น 2 เท่า (Double) หรือแม้กระทั่ง 3 เท่า (Triple)

เมื่อเราเริ่มสงบลง (Calm down) จะมีการปลดปล่อยสารสื่อประสาทที่ขัดขวาง (Inhibitory) กลอนทางเคมี ที่อยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจ และชะลออัตราการเต้นของหัวใจ ลองคิดถึงสารสื่อประสาท ทำหน้าที่เหมือนผู้นำส่งข่าวสารทางเคมีที่อาจกระตุ้นหรือขัดขวางอวัยวะของร่างกายที่อยู่ใกล้เคียง (อาทิ หัวใจ) เซลล์ประสาท (Neuron) หรือใย (Fiber) กล้ามเนื้อ

ประเภทหนึ่งของสารสื่อประสาทที่อยู่ในสมองเรียกว่า “Neuro-transmitter” ซึ่งเป็นสารเคมีหลากหลายที่แตกต่างกัน อันเกิดจากเซลล์ประสาท และถูกใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท ระหว่างการทำกิจกรรมทางร่างกาย (Physical) หรือจิตใจ (Mental)

ในการเขียนบทความบนเครื่องคอมพิวเตอร์ สมองต้องใช้เซลล์ประสาทนับล้านๆ ตัว ที่สื่อสารซึ่งกันและกัน โดยใช้สารสื่อประสาทในสมอง เนื่องจากเซลล์ประสาทนับล้านๆ ตัว ถูกอัดแน่นเข้าด้วยกัน ใช้สื่อประสาทในสมองที่แตกต่างกันสำหรับการกิน การนอน การพูด การคิด และการฝัน จึงเกิดคำถามขึ้นว่า มันไม่สับสนยุ่งเหยิงไปหมดหรือ?

คำตอบก็คือ สารสื่อประสาทในสมอง ทำงานคล้ายลูกกุญแจทางเคมี (Chemical key) ที่ไขกลอนเคมีได้เฉพาะอัน โดยเฉพาะ “ปลายแกนประสาทนำออก” (Axon) ซึ่งมีกิ่งก้าน (Branch) อยู่หลายสาขา และปลายสาขาจะขยาย (Enlarge) โครงสร้างออกเป็น “ปลายหลอด” (End bulb) ที่บรรจุสารสื่อประสาทในสมอง ,/p>

“กระแสประสาท” (Action potential) เป็นสาเหตุให้ปลายหลอดดีดออก (Eject) ซึ่งสารสื่อประสาทในสมอง สู่ภายนอก ข้ามช่องว่างเล็กๆ ที่เป็น “จุดประสานประสาท” (Synapse) ไปยังพื้นผิวของ “ใยประสาทนำเข้า” (Dendrite) ที่อยู่ใกล้เคียง โดยช่องรับ (Receptor) อยู่บนใยประสาทนำเข้า อันเป็นอาณาบริเวณที่ทำหน้าที่เหมือนกลอนเคมี

แม้จะมีสารสื่อประสาทในสมองจำนวนมหาศาล แต่แต่ละสารจะมีลูกกุญแจที่สามารถไขเปิด-ปิดกลอนเคมี (หรือช่องรับ) เฉพาะเท่านั้น ดังนั้น เซลล์ประสาทนับล้านๆ ตัวใช้ระบบนี้ของกุญแจเคมี ที่ไขเปิดหรือปิดเฉพาะกลอนของมันเท่านั้น ในการสื่อสารและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่แตกต่างหลากหลาย

นอกจากนี้ สารสื่อประสาทในสมองบางตัว สามารถกระตุ้น กล่าวคือไขกลอนเปิดช่องรับเซลล์ประสาท ในขณะที่ตัวอื่นสามารถขัดขวาง กล่าวคือไขกลอนปิดช่องรับเซลล์ประสาท ทั้งสองประเภทนี้ มีผลกระทบที่ตรงกันข้ามกัน (Opposite effects)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Neurotransmitter - https://en.wikipedia.org/wiki/Neurotransmitter [2015, March 26].