จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 28 : ยาหลอก (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เหตุผลหลักที่มีการใช้ยาหลอก (Placebo) ไปทั่วโลก (แม้จะต้องทำลายสัตว์ป่าบางชนิด โดยเฉพาะสัตว์ใกล้สูญพันธุ์) ก็คือ ผลกระทบที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ ได้รับการสนับสนุนจากการยืนยันคำให้การ (Testimonial) ของผู้คนเป็นจำนวนมาก ในทุกหนทุกแห่ง

ตัวอย่างเช่น เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจ [ในการศึกษาวิจัย] การยืนยันคำให้การฟังแล้วน่าคล้อยตาม (Convincing) เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานประสบกาณ์จริงของเพื่อนฝูง ผู้อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน (Peer) และพ่อแม่ ซึ่งมีความสัตย์จริง (Honest) และน่าเชื่อถือ (Believable)

อย่างไรก็ตาม เป็นธรรมดาของผู้คน (ซึ่งมีความสัตย์จริงและน่าเชื่อถือ (Trustworthy) ที่อาจทำอะไรบางอย่างที่ผิดพลาดได้โดยไม่รู้ตัว โดยสรุปลงความเห็นว่า นอแรด ถุงน้ำดีหมี กระดูกเสือ หรือแม่เหล็ก ผลิตผลกระทบทางการแพทย์ที่เป็นประโยชน์มาก

อันที่แท้จริงแล้ว ผลกระทบดังกล่าว มีสาเหตุมาจากความคิดในจิตใจ ที่มีอิทธิพลต่อการทำงาน (Functioning) ของร่างกายมาก แต่ผู้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาหลอก ส่วนมากเป็นเพราะเขามักคิดไม่ออกว่า อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดอะไร?

การค้นพบที่น่าประหลาดใจ (Amazing) ในการศึกษาวิจัยอิทธิพลของจิตใจ (Mind) ต่อร่างกาย (Body) ก็คือยาหลอก ซึ่งเป็นยาเม็ดที่ทำด้วยแป้งและน้ำตาล แต่สามารถ “หลอก” (Trick) ให้เราเข้าใจว่า ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น หายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ยาจริง

ผลการวิจัยชิ้นหนึ่ง แสดงว่า ประมาณ 30 ถึง 60% ของผู้มีอาการปวดศีรษะ ซึ่งเชื่อมั่นและคาดหวังว่า ยาแก้ปวดที่กินจะช่วยลดความปวดได้ และอันที่จริงแล้วก็รู้สึกดีขึ้น หลังจากกินยาหลอก

เนื่องจากผลกระทบของยาหลอก สามารถเกิดขึ้นได้ หลังการกิน (Take) ฉีด (Inject) หรือทำหัตถการ (Procedure) นักวิจัยจึงจำเป็นต้องแยก (Separate) ความคาดหวัง และความเชื่อมั่น ออกจากผลกระทบที่แท้จริงของยาใหม่หรือการรักษาทางการแพทย์ (Medical treatment)

วิธีการที่นักวิจัยใช้ในการแยกผลกกระทบของความหวังจากป่วย ออกจากผลกระทบที่แท้จริงของยาใหม่หรือการรักษาทางการแพทย์ใหม่ เรียกว่าวิธีการ “บอด 2 ชั้น” (Double-blind) กล่าวคือ ทั้งนักวิจัยและผู้รับการวิจัย ต่างก็ไม่รู้ว่า ใครได้รับการรักษาพยาบาล? และอันไหน? ความคาดหวังของทั้งสองกลุ่ม มีโอกาสกระทบทั้งยาจริงและยาหลอกเท่าๆ กัน

ตัวอย่างเช่นในการออกแบบวิธีการ “บอด 2 ชั้น” ผู้ป่วยที่ทนทุกข์ทรมานจากการปวดศีรษะ ได้รับการบอกเล่าว่า จะได้รับยาลดปวด 2 ชนิด เนื่องจากผู้ป่วยไม่ทราบ (บอดชั้นที่ 1) และนักวิจัย ก็ไม่ทราบ (บอดชั้นที่ 2) ว่า เป็นยาจริงหรือยาหลอกกันแน่ แต่ถ้าผู้ป่วยรายงานต่างวาระกันว่า ยาจริงและยาหลอก สามารถลดความปวดได้เท่าๆ กัน นักวิจัยสรุปลงความเห็นว่า ยาจริงไม่ดีกว่ายาหลอก

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Placebo - http://en.wikipedia.org/wiki/Placebo [2015, October 24].