จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 27 : ยาหลอก (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

นอแรดอันหนึ่งราคาประมาณ 25,000 ถึง 50,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 750,00 ถึง 1.5 ล้านบาท) ในตลาดมืด [เพราะการค้าขายอย่างเปิดเผยเป็นสิ่งผิดกฎหมาย] ในช่วงต้นปีคริสต์ศักราช 1900 มี แรดอยู่ 1 ล้านตัว แต่พอถึง ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) นักล่าสัตว์ที่ผิดกฎหมาย (Poacher) ได้ลดจำนวนแรดลงเหลือประมาณ 10,000 ตัว เนื่องจากความต้องการนอแรด เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ถุงน้ำดีหมี (Bear gallbladder) – ในบางส่วนของทวีปเอเชีย ยาที่ได้รับความนิยมว่า สามารถรักษาสุขภาพได้ดีเป็นยาเม็ด (Tablet) ที่ทำจากถุงน้ำดีของหมี พ่อค้าบางคนอาจใช้ถุงน้ำดีของหมูแทนถุงน้ำดีของหมี โดยที่ลูกค้าก็ไม่ทราบ เพราะไม่ว่าจะเป็นถุงน้ำดีของหมูหรือของหมี ก็เป็นยาหลอก (Placebo) ทั้งนั้น

ไม่น่าเชื่อว่า ราคาของถุงน้ำดีหมี ได้พุ่งสูงขึ้นอย่างน่าพิศวงถึงชิ้นอันละ 18,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 540,000 บาท) แม้ว่าในปัจจุบัน ได้มีการออกกฎหมายไปทั่วโลก ห้ามค้าอวัยวะของสัตว์ป่า แต่นักล่าสัตว์ที่ผิดกฎหมายก็ยังปฏิบัติตนให้เป็นภัยคุกคาม ต่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species) อย่างหมี โดยเฉพาะหมีขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ที่เรียกกันว่า Grizzly

กระดูกเสือ (Tiger bone) - ในช่วงต้นปี คริสต์ศักราช 1900 มีเสือในเอเชียอยู่ 100,000 ตัว แต่พอถึง ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) มีเสืออยู่ไม่ถึง 5,000 ตัว เหตุผลหลักของการลดลงอย่างฮวบฮาบ (Precipitous) อยู่ที่การใช้กระดูกเสือในการรักษาพยาบาล แผลพุพอง (Ulcer) ไทฟอยด์ มาเลเรีย โรคบิด (Dysentery) และแผลไหม้ (Burn)

นอกจากนี้ ยังใช้กระดูกเสือในการยืดอายุให้อยู่ยาวนานขึ้น (Longevity) ป้องกันการติดเชื้อ (Infection) ในทารก และขับไล่ปีศาจออกจากร่างทรง นอกากนี้ เศรษฐีชาวไต้หวันยังยอมจ่าย 320 ดอลลาร์ (ประมาณ 9,600 บาท) ต่อ 1 ชามของซุปองคชาติเสือที่เชื่อกันว่า เพิ่มพลังทางเพศ (Flagging libidos) กระดูกและองคชาติของเสือทำหน้าที่ยาหลอกอย่างทรงพลัง (Powerful) ในยาแผนโบราณในทวีปเอเชีย

แม่เหล็ก (Magnet) – ในช่วงต้นปี คริสต์ศักราช 1900 นักกีฬา (Athlete) ได้รายงานว่า ความเจ็บปวดได้ลง เมื่อสวมใส่แผ่น (Pad) แม่เหล็กขนาดเล็ก ทับบนบริเวณที่เจ็บปวด การยืนยันคำให้การ (Testimonial) ดังกล่าว ส่งผลให้ยอดขายของผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ พุ่งสูงขึ้นนับล้านดอลลาร์

แม้ว่าจะมีการศึกษาก่อนหน้านั้น ที่สนับสนุนข้ออ้างดังกล่าว แต่การศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้รับการออกแบบให้ดีขึ้นในการกำจัดข้อบกพร่อง และความลำเอียง ไม่พบความแตกต่างในการลดความเจ็บปวดระหว่างแม่เหล็ก กับยาหลอก นักวิจัยใหม่ จึงไม่เชื่อว่าแผ่นแม่เหล็กดังกล่าวสามารถลดความเจ็บปวดได้จริง

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning
  2. Placebo - http://en.wikipedia.org/wiki/Placebo [2015, October 17].