จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 195: ปัญหาการนอน [ไม่] หลับ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-195

      

      นักวิจัยสรุปว่า แม้การฝันของแต่ละบุคคลจะแทน (Represent) ประสบการณ์โดดเด่นที่อันไม่ซ้ำแบบใคร (Unique) รูปแบบ (Format) ที่เราฝัน (อาทิ การบินได้ การตกลงมา การวิ่ง หรือการแอบซ่อน) มักไม่แตกต่างจากผู้อื่น ในงานวิจัยหนึ่ง นักศึกษาอาสาสมัครแปลผล (Interpretation) การฝัน ส่วนใหญ่เป็นสตรี (77%)

      อย่างไรก็ตาม ในบรรดาผู้เข้ารับการทดลอง (Subject) มิใช่ทุกคนเก่งเท่ากันหมดในการเชื่อมโยงการฝันและการขยายผลออกไปถึงชีวิตเมื่อตื่นนอน นักศึกษาบางคนรายงานว่า พบฝันร้าย (Nightmare) ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาของการนอน [ไม่] หลับ ในสหรัฐอเมริกา มีประมาณ 80 ล้านคน ที่ประสบปัญหาดังกล่าว

      ตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่บางคนหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ (Sleep apnea) บางคนมีปัญหานอนไม่หลับ (Insomnia) และมีจำนวนรายเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่มากที่ตื่นตลอด กับ หลับลึกอย่างรวดเร็วโดยปราศจากสัญญาณเตือน กล่าวคือหลับไปกะทันหัน (Narcolepsy) มีประมาณ 25% ของเด็กต่ำว่าอายุ 5 ขวบที่ประสบการรบกวนต่อการนอนหลับ (Sleep disturbance)

      ในการสำรวจ (Poll) ในสหรัฐอเมริกาเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า 58% ของผู้ใหญ่รายงานปัญหาการนอนไม่หลับ ซึ่งก็คือความลำบากในการเข้านอนแล้วหลับไปตลอดคืน แต่มีความสัมพันธ์กับความทุกข์ใจจากตอนกลางวัน (Daytime complaint), ความอ่อนล้า (Fatigue), การถดถอยของสมาธิ (Impairment of concentration), ความยากในการจดจำ, และการปราศจากความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being)

      สาเหตุทางจิต (Psychological) โดยทั่วไปของการนอนไม่หลับ ได้แก่ประสบการณ์ที่ต้องเผชิญกับความเครียดอย่างท่วมท้น (Overload), ความวิตกเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัวหรือเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับงานการที่ทำ, ความทุกข์โศก (Grief) จากการสูญเสียหรือการตาย [ของคนที่รัก], และการรับมือกับปัญหาสุขภาพจิต

      ในคนวัยกลางคน (Middle-aged) ที่ทำงานอยู่จำนวนมาก ความเครียดจากการทำงานเป็นสาเหตุหลักของการนอนไม่หลับ ในบรรดานักศึกษา ปัญหาการนอนไม่หลับเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับการสอบ, ปัญหาส่วนตัว, และการเปลี่ยนแปลงในตารางนอน อาทิ การนอนดึกและตื่นสาย

      สาเหตุทางกาย (Physiological) โดยทั่วไปของการนอนไม่หลับ ได้แก่การเปลี่ยนกะไปทำงานกลางคืน (Night shift) ที่สร้างความปั่นป่วน (Upset) ให้กับจังหวะการนอน-ตื่น (Circadian rhythm) ของร่างกาย, มีปัญหาสุขภาพ หรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง, และการดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพยากล่อมประสาท (Sedative) ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนขัดขวาง (Disrupt) การนอนหลับ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sleep disorder - https://en.wikipedia.org/wiki/Sleep_disorder [2018, January 5].