จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 175: จังหวะนอนและตื่น (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-175

      

      อาจจะดูแปลกประหลาดที่จะคิดถึงการมีนาฬิกาอยู่ในสมอง แต่ที่จริงแล้ว คนเรามีนาฬิกาอยู่หลายเรือน รวมทั้งนาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) ที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “จังหวะรอบวัน” (Circadian rhythm) ที่กำหนดรอบนอนและตื่น (Sleep-wake) ซึ่งอยู่ในกลุ่มเซลล์ “จุดศูนย์กลางซุปปราไคแอสมา” (Suprachiasmatic nucleus)

      จุดศูนย์กลางดังกล่าว เป็นหนึ่งในจำนวนหลายกลุ่มเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นไฮโปธารามัส (Hypothalamus) ซึ่งอยู่ใต้สมองส่วนกลาง โดยที่จุดศูนย์กลางนี้ คือนาฬิกาชีวภาพที่ซับซ้อน (Sophisticated) ซึ่งควบคุม (Regulate) จังหวะรอบวัน รวมทั้งรอบนอนและตื่น เนื่องจากมันได้รับสิ่งนำเข้า (Input) โดยตรงจากดวงตา เซลล์ซุปปราไคแอสมานี้ จึงไวต่อการสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงในแสง

      เนื่องจากแสงควบคุมจังหวะรอบวัน การปราศจาก (Absence) แสง จะขัดจังหวะ (Disrupt) ของการนอนและการตื่นในคนตาบอด ส่งผลให้มีปัญหาการนอน นักวิจัยพบว่า คนตาบอดจำนวนมากที่รายงานการนอนไม่หลับ แต่ก็มีบางราย (เป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำ) ในคนตาบอดสนิท (Completely blind) ที่รายงานว่า ไม่มีปัญหาในการนอนหลับเลย

      เหตุผลก็คือเส้นทาง (Pathway) การส่งผ่าน (Transmit) แสงจากดวงตาไปยังจุดศูนย์กลางซุปปราไคแอสมานั้น ไม่ถูกแตะต้อง (Intact) โดยที่เส้นทางนี้ไม่เกี่ยวข้อง (Involved) กับการมองเห็นสิ่งของ แต่เกี่ยวข้องกับการตั้งจุดศูนย์กลางซุปปราไคแอสมาเสียใหม่เท่านั้น

      นอกเหนือจากนาฬิกาชีวภาพ 24 ชั่วโมงที่กำหนดรอบนอนและตื่นแล้ว คนเรายังมีนาฬิกาอื่นในสมอง รวมทั้งเรือนที่วัดผลข่วงเวลาสั้น เรียกว่า “นาฬิกาช่วงเวลา” (Interval timing clock) ซึ่งสามารถเริ่มต้นและสิ้นสุด เหมือนนาฬิกาจับเวลา (Stop watch) ซึ่งวัด (Gauge) หรือจับเวลาเป็นวินาที นาที หรือชั่วโมง

      นาฬิกาดังกล่าวช่วยคนและสัตว์ (Creature) กำหนดเวลาการเคลื่อนไหว (Movement) อาทิ รู้ว่าเมื่อไรจะเริ่มต้นหรือหยุดกิจกรรมบางอย่าง นาฬิกาช่วงเวลามีตำแหน่งแห่งที่ ณ ส่วนของสมองที่รู้จักกันในนาม “ปมประสาท” (Basal ganglia) เราใช้นาฬิกาช่วงเวลารกะประมาณการตั้งต้นและการสิ้นสุดกิจกรรม

      เมื่อนาฬิกาช่วงเวลาในหนูทดลองถูกทำลาย (Destroyed) หนูทดลองจะไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาสำหรับอาหาร นักวิจัยเชื่อมั่นว่า สมองมนุษย์ก็เหมือนสมองหนูทดลอง มีช่วงเวลาของการเริ่มและสิ้นสุด ในมนุษย์ หากเราใช้นาฬิกาช่วงเวลาในการงีบ (Nap) 1 ชั่วโมง เราก็จะตื่นนอนใน 1 ชั่วโมงต่อมา

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Rhythms of sleeping and waking https://www.sleepdisordersguide.com/article/basics/rhythms-of-sleeping-and-waking-rem-sleep-circadian-rhythm [2018, Aug 18].