จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 103: การเห็นสีสัน (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ทฤษฎี “กระบวนการตรงข้าม” (Opponent-process) กล่าวว่า เซลล์ปมประสาท (Ganglion) ในจอประสาทตา (Retina) และเซลล์ในเนื้อสมองที่ฐานใหญ่ (Thalamus) สนองตอบต่อ 2 คู่สีที่เกื้อกูลกัน (แดง-เขียว กับ ฟ้า-เหลือง) เมื่อเซลล์เหล่านี้ได้รับการกระตุ้น (Excited) ก็จะสนองตอบต่อสีหนึ่งในคู่ แต่เมื่อได้รับการขัดขวาง (Inhibited) ก็จะสนองต่ออีกสีหนึ่งในคู่เดียวกัน

ตัวอย่างเช่น บางเซลล์ปมประสาท และเซลล์ในเนื้อสมองที่ฐานใหญ่ ใช้คู่แดง-เขียวรวมกัน (Combination) ก็จะส่งสัญญาณ (Signal) สีแดงเมื่อถูกกระตุ้น และส่งสัญญาณสีเขียวเมื่อถูกขัดขวาง ส่วนอื่นของเซลล์ปมประสาท และเซลล์ในเนื้อสมองที่ฐานใหญ่ ใช้คู่ฟ้า-เหลืองรวมกัน (Combination) ก็จะส่งสัญญาณสีฟ้าเมื่อถูกกระตุ้น และส่งสัญญาณสีหลืองเมื่อถูกขัดขวาง

ดังนั้น ส่วนต่างๆ ของระบบการเห็น อาจใช้วิธีที่แตกต่างกันในการให้รหัสสีต่างๆ กัน เนื่องจากเราเห็นสีสันโดยอัตโนมัติตามธรรมชาติ เราอาจไม่ทราบว่า มันเกี่ยวข้องกับ “ทฤษฎีแม่สีหลัก” (Trichromatic) และ “ทฤษฎีกระบวนการตรงข้าม” เมื่อเรานำทั้ง 2 ทฤษฎีของการเห็นสีสัน มารวมกัน จะสามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเห็นสีสันได้ดังต่อไปนี้

  1. ทฤษฎีแม่สีหลัก กล่าวว่า มีแม่สีหลักอยู่ 3 ชนิดใน “ตัวรับแสงทรงกรวย” (Cone) [อาจมีมากถึง 9 ชนิดในการค้นพบภายในเวลาต่อมา] ในจอประสาทตา แต่ละกรวยดูดซึมคลื่นแสงอันมีช่วง (Length) ที่แตกต่างกัน ซึ่งจับคู่ตรงกับ 3 แม่สีหลัก (Primary) ของสีฟ้า เขียว และแดง
  2. เมื่อสัญญาณไฟฟ้า (ข้อมูลของสี) เข้าถึงเซลล์ปมประสาทในจอประสาทตา และเซลล์ประสาท (Neuron) ในเนื้อสมองที่ฐานใหญ่ มันจะใช้ทฤษฎีกระบวนการตรงกันข้าม ซึ่งเกี่ยวข้องกับคู่สีสัน โดยจะส่งผลให้หนึ่งในคู่สี หากถูกกระตุ้น และอีกหนึ่งในคู่สี หากถูกขัดขวาง
  3. แรงกระตุ้นประสาท (Nerve impulse) จะนำข้อมูลสีนี้ไปยัง “เปลือกสมองส่วนการเห็น” (Visual cortex) ในขณะที่เซลล์ประสาทอื่นๆ จะสนองตอบต่อการเห็นสีสันหลากหลาย ซึ่งอาจประกอบขึ้นด้วยรวมแม่สีหลักทั้ง 3 สีเข้าด้วยกัน

แม้พวกเราส่วนใหญ่มีการเห็นสีสันที่ดีเป็นปรกติ แต่ยังมีบางคนที่ประสบปัญหา “ตาบอดสี” (Color blindness) ที่แตกต่างในขอบเขต (Varying degrees) ประมาณ 1 ใน 20 คนในสหรัฐอเมริกา ได้รับการสืบทอด (Inherit) ตาบอดสีผ่านทางพันธุกรรม

ตาบอดสีคือ ความไม่สามารถ (Inability) แยกแยะ (Distinguish) ระหว่างร่มสีในแถบสี (Color spectrum) คนที่ตาบอดสีมักไม่รู้ตัว อาทิ เด็กเล็กที่ตาบอดสีอาจมองเห็นสุนัขเป็นสีเขียว ในบางอาชีพ (Occupation) อาทิ ช่างไฟฟ้า มีกฏเกณฑ์ว่า ต้องผ่านการทดสอบ (Screen) ในเรื่องความสามารถในการแยกแยะสายไฟ (Wire) ที่มีสีสันแตกต่างกัน จึงจะประกอบอาชีพนี้ได้

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson กLearning.
  2. Color vision - https://en.wikipedia.org/wiki/Color_vision [2017, April 1].