จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 90: ชราภาพกับความทรงจำ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

ความทรงจำระยะยาว (Long-term memory : LTM) ทำหน้าที่เป็นคลังข้อมูลถาวร (Permanent store of information) เพื่อบรรลุขีดความสามารถสูงสูด (Maximum capacity) โดยมิให้สูญเสียข้อมูลไป แม้เป็นคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ (Unanswerable question) แต่กรณีที่แน่ชัดแล้วสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคความจำเสื่อม (Amnesia) ก็คือ ข้อมูลที่จำเป็น (Essentially) และใช้อยู่ทุกวันไม่เคยสูญหาย

ตัวอย่างเช่น ผู้คนจะไม่ลืมภาษาท้องถิ่น (Native) ของตนเอง ชื่อของเขาเอง ชื่อของเมืองหลวง (Capital) ของประเทศ และแม้กระทั่งการฝึกขับถ่าย (Toilet training) เนื่องจากข้อมูลดังกล่าว มีความสำคัญต่อเขา และ / หรือ ได้รับการฝึกปรือ (Rehearsed) ครั้งแล้วครั้งเล่า จนกลายเป็นความทรงจำ ที่ยากจะถูกสั่นคลอน (Unshakeable)

อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อมูลบางส่วนได้สูญหายไปจาก LTM ตัวอย่างเช่น ที่อยู่เก่า และหมายเลขโทรศัพท์ มักจะถูกลืม เมื่อเพื่อนย้ายบ้าน การสูญเสียความทรงจำเหล่านี้ มักเป็นข้อมูลที่อาจไม่เกี่ยวข้อง (Irrelevant) กับสถานการณ์ปัจจุบัน และถูกทดแทน (Superseded) เพราะไม่สำคัญ [อีกต่อไป]

การทดสอบที่มีมาแต่ดั้งเดิม (Classic) ของ LTM ก็เหมือนขั้นตอนปฏิบัติ (Procedure) ของความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory : STM) เว้นแต่ผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) ได้รับคำสั่งให้ยึดถือรายการที่ควรจดจำ (To-be-remembered : TBR) ไว้ในความทรงจำ เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานกว่า (โดยปรกติ อยู่ระหว่าง 30 นาที ไปจนถึงหลายวัน)

หากสงสัยว่า ทำไมผู้เข้าร่วมการวิจัย จึงมิได้ลืมรายการ TBR เหมือนการทดลอง STM? คำตอบง่ายๆ ก็คือ ผู้เข้าร่วมการวิจัย ได้รับการสนับสนุนให้ฝึกปรึออยู่เสมอ

อีกวิธีการหนึ่งของการจัดประเภท (Categorizing) ของความทรงจำก็คือ การแบ่งเป็น ความทรงจำอาศัยเหตุการณ์ (Episode) กับความทรงจำอาศัยความหมาย (Semantic) ประเภทแรกเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล กล่าวคือ เป็นความทรงจำของเหตุการณ์เฉพาะของชีวิตส่วนตัว (Auto-biography)

ในขณะที่ประเภทหลัง มีไว้สำหรับรายการ (Item) ที่เป็นอิสระจากประสบการณ์ส่วนตัว และเป็นคลังของข้อมูลความจริง (Fact) อาทิ ความรู้ทั่วไป หรือการเรียนรู้ทางวิชาการ (Academic learning)

นอกจากนี้ ยังมีระบบที่แบ่งแยกเป็น ความทรงจำอย่างชัดแจ้ง (Explicit) กับ ความทรงจำโดยปริยาย (Implicit) ซึ่งเป็นความแตกต่าง (Distinction) ระหว่างความทรงจำที่ผู้คนแสวงหาอย่างมีสติสัมปชัญญะ (Consciously sought) [ชัดแจ้ง] กับสิ่งที่เขาอาจรวบรวม (Glean) จากความทรงจำที่ยังมิได้มีเจตนาจะเก็บไว้ (Deliberately stored) [ปริยาย]

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Memory and aging - https://en.wikipedia.org/wiki/Memory_and_aging[2016, January 3].