จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 89: ชราภาพกับความทรงจำ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

งานแบบฉบับ (Typical task) ที่เกี่ยวข้องกับ “ความทรงจำของการทำงาน” (Working memory) ก็คืองานที่บุคคลหนึ่งจะยึดถือวัสดุไว้ในใจ เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในขณะที่ดำเนินการ (Carry out) เกี่ยวกับวัสดุที่ยึดถืออยู่นั้น อาจมีวัสดุอื่นที่เข้ามาใหม่ นี่เป็นรูปแบบของความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory : STM) ที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจ

ตัวอย่างเช่น ในการฟังสุนทรพจน์ จำเป็นจะต้องเก็บไว้ในใจสิ่งที่บุคคลพูด [วัสดุ] เพื่อให้เข้าใจเหตุผลในสิ่งที่พูด อีกตัวอย่างหนึ่ง คือการคิดเลขในใจ (Mental arithmetic) ซึ่งตัวเลขรวมทั้งหมด [วัสดุ] จะต้องได้รับการจัดเก็บ (ตามลำดับที่ถูกต้อง) ในขณะที่กำลังคำนวณอยู่ (Performing transformation)

เราจะสังเกตว่า ในกรณีทั้งสอง จะต้องมีการจดจำบางอย่างขณะที่การทำงานในใจของอีกอย่างหนึ่งกำลังดำเนินอยู่ รายละเอียดว่าแบบจำลองของ “ความทรงจำของการทำงาน” จะเป็นอย่างไรนั้น [ในปัจจุบัน] ยังห่างไกลจากการสรุปผล อย่างไรก็ตาม ในรูปแบบขั้นพื้นฐาน ระบบดังกล่าวถูกควบคุมโดย “กลไกบริหารส่วนกลาง” (Central executive)

กลไกนี้เป็นส่วนที่อยู่ใน “คลังความทรงจำ” (Memory store) ทำหน้าที่เป็น “ระบบเจ้านาย” (Master system) ที่ควบคุม “ระบบทาส” (Slave system) จำนวนมาก แต่ละ “ระบบทาส” เชี่ยวชาญเพียงประเภทเดียวของความทรงจำ แต่ในองค์รวม “ระบบทาส” จะมีขีดความสามารถในความทรงจำที่มากกว่า “ระบบเจ้านาย” หรือ “กลไกบริหารส่วนกลาง”

“ระบบทาส” มีหลากหลายระบบ อาทิ ระบบวัสดุวาจา (Verbal material) เกี่ยวข้องกับคำพูด ในความหมายที่กว้างสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงไม่เพียงแต่จดจำตัวอักษรและคำพูดเท่านั้น แต่รวมทั้งตัวเลขด้วย “กลไกบริหารส่วนกลาง” ความคุมการฝาก (Deposit) และการถอน (Retrieval) ความทรงจำไปยัง (และกลับจาก) “ระบบทาส”

ร่องรอยของความทรงจำ (Memory trace) จะเลือนหายอย่างรวดเร็ว ไปจาก STM ด้วยเหตุผลง่ายๆ เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ทรงคุณค่าเฉพาะในบางเวลา และหลังจากนั้นจะเป็นส่วนเกิน (Redundant) หากหวนกลับไปยังตัวอย่างเดิม ความทรงจำของตัวเลขในโจทย์เลขคณิตคิดในใจ เป็นสิ่งจำเป็นในขณะนั้น แต่การทบทวนความทรงจำในภายหลัง อาจเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ (Irritation) และเป็นการสูญเสียเนื้อทึ่ (Space) ความทรงจำไปเปล่าๆ

เมื่อมีการประมวลพร้อมกัน (Concurrent processing) [อาทิ หากมีการบำรุงรักษา (Maintain) ความทรงจำ และการทำงานที่ต้องอาศัยสมาธิในเวลาเดียวกัน] “กลไกลส่วนกลาง” ก็จะช่วยในการประสานงาน (Co-ordination) แต่บางข้อมูลก็ไม่จำเป็นต่อความทรงจำอย่างถาวร

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีรายการที่ต้องจดจำมากเกินกว่าที่จะสอดคล้องกับ “ระบบทาส” แล้ว บางส่วนหรือทั้งหมดของรายการ อาจถูกโอนย้ายไปยังความทรงจำระยะยาว (Long-term memory : LTM) ซึ่งทำงานเป็นตัวสำรอง (Back-up)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Memory and aging - https://en.wikipedia.org/wiki/Memory_and_aging[2016, December 27].