จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 52 : ประเภทของเชาว์ปัญญา (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

หากได้รับการร้องขอให้อธิบายเกี่ยวกับผลกระทบของเชาว์ปัญญา (Intelligence) ผู้คนส่วนมาก จะตัดสิน (Judge) “แบบเหมารวม” (Stereotyped) ว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ [เพราะประสบการณ์] มากกว่า แต่อาจเชื่องช้าในการคิด โดยมีลักษณะเฉพาะ (Characteristics) ของการเพิ่มขึ้นในปัญญา (Wisdom) แต่ลดลงในการแสดงออกถึงปฏิภาณ (Wit)

เมื่อได้รับการร้องขอให้อธิบายถึงผู้ใหญ่ในวัยต่างๆ กันที่ชาญฉลาดเป็นพิเศษ (Exceptionally intelligent) ผู้มีส่วนร่วม (Participant) ในการวิจัย มีแนวโน้มที่จะเน้นย้ำเรื่อง “ความสามารถที่จะรับมือ (Deal with) กับนวัตกรรม (Novelty)” ในผู้เยาว์ และเน้นย้ำเรื่อง “สมรรถนะ” (Competence) ในผู้สูงอายุ

สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงผลการวิจัยว่า ผู้ใหญ่วัยต้น และวัยกลาง (Middle-aged) มีแนวโน้มมากกว่า ผู้ใหญ่ปลาย [ผู้สูงอายุ] ที่จะมีความสัมพันธ์กับ (Associate) ปัญญาในช่วงปลายของชีวิต ปัญหาของการศึกษาทัศนคตินี้ บางครั้งอาจเป็นการยากที่จะตัดสินใจ หากทุกคนใช้รูปแบบในใจ (Mental model) เดียวกัน ในการลงความเห็น (Judgment)

อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของคนส่วนมาก (Popular opinion) ไม่จำเป็นต้องสอดคล้อง (Synonymous) กับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ (Scientific fact) เสมอไป การพิจารณาให้ลึกซึ้ง (Insight) ถึงแนวความคิด (Concept) ของทุกๆ คนในเรื่องชราภาพกับเชาว์ปัญญา อาจได้ประโยชน์จากการศึกษาผลงานศิลปะ (Works of art) ของเขาด้วย

ตัวอย่างเช่น ช่างระบายภาพ (Painter) กับช่างแกะสลัก (Sculptor) สร้างเงื่อนไข (Condition) ให้ผู้คนยอมรับว่า ภาพ (Depiction) ของผู้สูงวัยที่แข็งแรง แต่ดูเหมือนจะวิตกกังวล (Pensive) เป็นตัวแทนอัตโนมัติ (Automatic representation) ของภาพสรุป (Epitome) ของปัญญา ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ (Temporal) หรือทางจิตวิญญาณ (Spiritual)

อาจเป็นการยากมากสำหรับผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบโต (Raised) ในวัฒนธรรมตะวันตก ที่จะไม่คิดถึงนักปรัญชา (Philosopher) ในคราบของผู้สูงวัย ที่มีหนวดเครารุงรังสีขาว แต่ที่อาจดูขัดแย้งกัน (Paradoxically) ก็คือ ผู้สูงอายุก็มีภาพลักษณ์ (Portray) ในเวลาเดียวกันของนักคิดที่เชื่องช้า และมีไหวพริบที่น่าเบื่อหน่าย (Dull)

และนี่คือที่มาของความขัดแย้งในชราภาพ (Dewey’s paradox of aging) ซึ่ง จอห์น ดิวอี้ กล่าวว่า “เราอยู่ในเงื่อนไขที่ไม่น่ารื่มรมย์นัก (Unpleasant) และไร้เหตุผล (Illogical) ของการสรรเสริญเยินยอ (Extolling) วุฒิภาวะ (Maturity) และลดคุณค่า (Depreciating) ของชราภาพในเวลาเดียว”

ทุกวันนี้ เชาว์ปัญญาได้รับการยอมรับอย่างมาก (Principally) ว่า เป็นมาตรวัดระดับโลก (Global measure) ของความสามารถทางสติปัญญา (Intellectual ability) หรือเชาว์ปัญญาทั่วไป (General intelligence) ซึ่งเรียกกันว่า g แต่นักจิตวิทยาได้ถกเถียงกันเป็นเวลานานแล้วว่า g เป็นเพียงส่วนประกอบรวม (Composite) ของกลุ่มทักษะย่อย (Set of sub-skills) ซึ่งแต่ละทักษะย่อยเป็นปัจจัยกำหนดรูปแบบที่แตกต่างของกิจกรรมทางเชาว์ปัญญา (Intellectual activity) วิธีการแยกประเภทหนึ่งที่ใช้กันมาก คือการแบ่งเป็นเชาว์ปัญญาเหลว (Fluid intelligence) กับเชาว์ปัญญาผลึก (Crystallized intelligence)

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Intelligence - https://en.wikipedia.org/wiki/Intelligence [[2016, April 12].