จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 41 : ปัญหาการลิ้มรสและดมกลิ่น (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

รสชาติ (Taste) ที่มนุษย์รับรู้ สามารถแบ่งในเบื้องต้นออกเป็น 4 ประเภท อันได้แก่ ขม (Bitter) เปรี๊ยว (Sour) เค็ม (Salty) และหวาน (Sweet) โดยที่คนเรามี 9,000 “หน่อรสชาติ” (Taste buds) ที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกทั้ง 4 ดังกล่าว

นักวิจัยได้ค้นพบการเสื่อมลง (Decline) ของการอ่อนไหว (Sensitivity) ในรสชาติ [เมื่อมีอายุมากขึ้น] แต่แตกต่างกันในรายละเอียดของการวิจัยแต่ละชิ้น

นักวิจัยคนหนึ่งพบการลดลงของทุกรสชาติ [ในบรรดาผู้สูงอายุ] ยกเว้นการอ่อนไหวที่เพิ่มขึ้นต่อความขม แต่อีกนักวิจัยหนึ่งพบการสูญเสีย (Loss) ของความอ่อนไหวต่อรสขม [เมื่อมีอายุมากขึ้น] ส่วนนักวิจัยอีกคนก็พบการเสื่อมลง [เมื่อแก่ตัวลง] ของความอ่อนไหวต่อสาร (Substance) เฉพาะบางชนิดเท่านั้น

แล้วยังมีนักวิจัยที่พบการเสื่อมลงของรสขมและรสหวาน แต่ไม่อ่อนไหวต่อรสหวานและรสเปรี๊ยว ในผู้มีอายุเกิน 100 ปี (Centenarians) เพื่อทำให้ “น้ำขุ่นมัวยิ่งขึ้น” (Muddy the waters) ยังมีนักวิจัยที่ไม่พบการสูญเสียในความสามารถของผู้สูงอายุ ในการประเมินความเข้มข้น (Concentration) ของรสชาติหลัก (Primary) ยกเว้นสารบางชนิด

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเดียวกันก็ยังพบว่า ความสามารถในการจัดประเภท (Grading) เสื่อมลง (Impaired) ตามสังขารณ์ ส่วนกลุ่มนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ไม่พบการเสื่อมลงในหมู่ผู้สูงอายุในเรื่องการตรวจพบ (Detect) ความเค็ม แต่พบความเสื่อมลงในความสามารถของการตรวจพบรสชาติหลักทั้งหมด

เหตุผลสำหรับความแปรปรวน (Marked variability) อย่างมากในงานวิจัยหลากหลาย อาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ อาทิ จุดไหนบนลิ้นที่ได้รับการทดสอบ เพราะแต่ละส่วนของลิ้นมีความแตกต่างในระดับความอ่อนไหว และความแตกต่างทางวัฒนธรรมอีกด้วย อันเนื่องมากจากการกินอาหารตลอดชีวิตที่มีรสชาติเฉพาะ (Particular flavors)

การกินอาหารดังกล่าว มีผลกระทบต่อความอ่อนไหวของรสชาติ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม (Overall) แล้ว ดูเหมือนนานานักวิจัย จะมีความเห็นตรงกันอย่างหนึ่ง [ในงานวิจัยทุกชิ้น] นั่นคือ ความสามารถในการตรวจพบรสชาติหลักได้เสื่อมลง ตามอายุขัยที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในการตรวจพบรสชาติที่ซับซ้อน (Complex) กลับชัดเจนขึ้นในบรรดาผู้สูงอายุ ซึ่งแสดงว่าได้เสื่อมลง ในการตรวจพบรายการอาหารประจำวันและในรสชาติหลักเมื่อเป็นส่วนผสม (Mixture) ของรสชาติอื่นๆ แต่ไม่ว่าผู้สูงอายุจะสามารถหรือไม่สามารถลิ้มรสอะไร เขามักไม่สันทัดในเรื่องการเลือกหรือการย่อยสลาย (Metabolizing) อาหารที่ดีต่อสุขภาพ (Healthy diet)

ตัวอย่างเช่น การศึกษาหนึ่งพบว่า 5% ของกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 65 ถึง 74 ปี มักบกพร่อง (Deficiency) ในวิตามิน B12 และสัดส่วนนี้สูงขึ้นถึง 10% ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป แม้จะยังไม่มีรายละเอียดแต่ค่อนข้างเด่นชัด (Apparent) ว่า โภชนาการมีบทบาทสำคัญในการรักษาสถานะของการรับรู้ (Cognitive status) ในวัยชรา

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. Aging changes in the senses https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/004013[2016, January 26].