จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 37 : ปัญหาการมองเห็น (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

อีกปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือการเปลี่ยนแปลงในการมองเห็นสี (Color perception) ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุจะมองเห็นโลกว่า มีสีค่อนข้างไปทางเหลือง ผู้สูงอายุจะมองเห็นสีที่อยู่ปลายช่วง (Spectrum end) อันได้แก่ สีแดง สีส้ม และสีเหลืองนั้น ได้ง่ายกว่า สีเขียว สีน้ำเงิน และสีม่วง ซึ่งยากที่แยกแยะ (Discriminate) ได้

แต่ผู้คนส่วนใหญ่จะไม่พบเป็นปัญหานี้ก่อนอายุ 80 ปี อาจจะเนื่องจาก เลนส์ตาจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่ออายุมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็มีบางคนที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ (Lens surgery) แล้วยังคงมองเห็นโลกเป็นที่ระบาย (Tinge) ด้วยสีเหลือง อาจเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาท (Nervous system)

ขนาดขอบเขตที่มองเห็นก็จะเล็กลงด้วย ปัญหาเล็กน้อยที่ประสบก็คือ ผู้สูงอายุไม่สามารถกลอกกลิ้งลูกตาขึ้น เท่ากับผู้ใหญ่วัยต้น ผลลัพธ์ก็คือผู้สูงอายุมักจะเชิดหัวขึ้นเพื่อให้เห็นวัตถุที่อยู่เหนือศีรษะ ซึ่งผู้ใหญ่วัยต้นสามารถเห็นโดยกลอกกลิ้งตาเท่านั้น ปัญหาที่ร้ายแรงกว่าคือาการสูญเสียการมองเห็นรอบๆ (Peripheral vision) กล่าวคือ ความกว้างของขอบเขตที่มอง จุดเริ่มต้นของการเสื่อมถอยนี้เกิดขึ้นในผู้ใหญ่วัยกลางคน แต่มีผลกกระทบอย่างเด่นชัด (Pronounced) ในผู้มีอายุเกิน 75 ปีขึ้นไป

ปัญหาเหล่านี้ อาจร้ายแรงหรือน่ารำคาญ (Annoying) สำหรับผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงสายตา อาจมีมาก (Magnitude) พอที่จะหยุดกิจกรรมสำคัญๆ อาทิ การขับรถ แต่ไม่จำเป็นว่า จะทำให้ลดความสามารถลง (Incapacitate) และหลากหลายปัญหาของสายตาเกิดขึ้นก่อนช่วงสุดท้ายของชีวิต แต่ก็ต้องยอมรับว่า ผู้สูงอายุจะเผชิญบางปัญหาบ่อย อาทิ การหกล้มและกลุ่มอาการ ชารลล์ บอนเน็ต (Charles Bonnet) ซึ่งเป็นความผิดปรกติที่มีลักษณะเฉพาะของภาพหลอน (Hallucination) โดยเกิดขึ้นใน 11% ของผู้ที่มีสายตาเสื่อมลง (Impair) แต่มีผู้ป่วยน้อยรายที่ยอมรับในกลุ่มอาการนี้ เพราะกลัวว่า จะถูกมองว่าเป็นโรคจิต (Mental illness)

ประมาณ 7% ของผู้มีอายุระหว่าง 65 กับ 74 ปี และ 16% ของผู้มีอายุสูงกว่า 75 ปี เป็นคนตาบอด หรือการหย่อนการเห็นอย่างรุนแรง (Severely visually impaired) ในประเทศอังกฤษ ประมาณ 20% ของผู้มีอายุสูงกว่า 75 ปี และ 50% ของผู้มีอายุในช่วง 90 ปี ต้องสูญเสียการมองเห็นอย่างรุนแรง

สาเหตุหลักของอาการเหล่านี้ ก็คือ ต้อกระจก (Cataract) ซึ่งเลนส์ตาธรรมชาติเริ่มขุ่นมัว (Opaque) ต้อหิน (Glaucoma) ซึ่งสารเหลว (Fluid) ที่มากผิดปรกติสะสม (Accrue) อยู่ในลูกตา ส่งผลให้เกิดความดัน (Pressure) ที่ทำลายเซลล์ประสาทสัมผัส (Receptor) อย่างถาวร การเสื่อมลงของจุดเหลือง (Macular degeneration) ซึ่งอยู่บนเยื่อชั้นในสุดของหลังลูกตา (Retina) อันมีความคมชัด (Acuity) มากที่สุด และ การตรวจเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic retinopathy) ซึ่งเป็นความเสียหายต่อหลอดเลือด (Blood vessel) ของเยื่อชั้นในสุดของหลังลูกตา อันเป็นลจากเบาหวาน

โรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้มิได้ถูกจำกัด (Confined) ให้อยู่แต่ช่วงท้ายของชีวิต แต่พบบ่อยในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันได้ หรืออย่างน้อยก็สามารถบรรเทา (Temper) ผลกระทบที่เลวร้ายที่สุด หากสามารถค้นพบแต่เนิ่นๆ ตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาที่ยิ่งยาวนาน หลังพบจักษุแพทย์ครั้งสุดท้าย โอกาสยิ่งก็เพิ่มขึ้นสำหรับการค้นพบความเลวร้ายของต้อหิน

แหล่งข้อมูล

1.Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2.Vision and eye problems in aging adults - http://www.webmd.com/eye-health/vision-problems-aging-adults[2015, December 15].