จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 4 จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 27: ต้นทุนของอายุยืน (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย

แนวความคิดของ “อายุคาดที่กระฉับกระเฉง” (Active life expectancy) หมายถึง อายุคาดที่ยังคงเหลืออยู่ สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ยังทำงานได้ตามปรกติ (Functional well-being) ในรูปแบบของกิจกรรมประจำวัน ที่มิได้นอนป่วยอยู่ในสถานพยาบาลของผู้สูงอายุ

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ จำนวนปีเฉลี่ยที่คงเหลืออยู่ ที่ผู้คนคาดว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างกระฉับกระเฉง ซึ่งนับวันก็จะลดน้อยถอยลง ตั้งแต่แรกเกิด ประชากรเฉลี่ย (Average citizen) ของประเทศอุตสาหกรรม สามารถคาดได้เลยว่า จะใช้เวลาในช่วง 10% สุดท้ายของชิวิต ทนทุกข์ทรมานอยู่กับความด้อยสมรรถภาพ (Disability)

และถ้าตัวเลขนี้ยังไม่เศร้าพอ การเจ็บป่วยเรื้อรังที่ร้ายแรง (Serious chronic illness) ซึ่งรุกราน (Impinge) คุณภาพของชีวิต หากไม่ทุพพลภาพทันที ก็คงจะปรากฎในหลายปีต่อมาอยู่ดี อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่นักวิจัยทุกคน จะมีโลกทัศน์ในเชิงลบ (Gloomy outlook) เพราะความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วยถอนรากถอนโคน (Eradicate) การเจ็บไข้ได้ป่วยที่เคยมีอันตรายถึงชีวิต (Fatal) จนจำนวนโรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้ผู้คนล้มหายตายจาก ได้ลดลงฮวบฮาบ

ในเชิงความน่าจะเป็น (Probabilistic) ในอนาคต ผู้คนจะมีอายุเฉลี่ยที่ยาวนานขึ้น ก่อนที่เขาจะวิวัฒนาสิ่งที่วิทยาศาสตร์การแพทย์จะไม่สามารถรักษาพยาบาลได้ นอกจากนี้ โรคภัยไข้เจ็บที่รักษาไม่ได้ถูกยับยั้ง (Stave off) ด้วยมาตรการป้องกัน (Prophylactic) ที่เหมาะสม อาทิ อาหารที่ถูกหลักโภชนาการ (Sensible diet) และการออกกำลังกาย

ดังนั้น ด้วยวิธีการแทรกแซง (Intervention) ที่ถูกต้อง การหลีกเลี่ยงมิให้ตกอยู่ในสภาวะด้อยสมรรถภาพ จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ จนกระทั่งถึงช่วงท้ายของชีวิต แม้ว่าในที่สุดการเจ็บไข้ได้ป่วยจนถึงแก่ชีวิต อาจป้องกันไม่ได้ แต่ช่วงของความเจ็บป่วยร้ายแรง และการทนทุกข์ทรมาน ดังกล่าวอาจย่นย่อให้สั้นลง (Compress) กว่าที่เคยประสบในชั่วอายุคนก่อนหน้านี้

ในอดีตที่ผ่านมา ทฤษฎีการขยายตัวของการเจ็บไข้ได้ป่วย (Expansion of morbidity) อธิบายว่า การมีอายุยาวนานขึ้น มิใช่เป็นสิ่งพึงปราถนา เพราะผู้คนโดยเฉลี่ยที่มีชีวิตสูงขึ้น ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่ในอนาคต ทฤษฎีนี้จะถูกทดแทนด้วย ทฤษฎีการย่นย่อการเจ็บไข้ได้ป่วย (Compression of morbidity) ซึ่งว่าด้วยการมีชีวิตอยู่ที่ยาวนานขึ้นเป็นสิ่งพึงปราถนา เพราะความทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บ จะถูกย่อย่อให้สั้นลง

นักวิจัยนำเสนอประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า จุดมุ่งหมายในอนาคตเป็นสิ่งที่บรรลุได้ ซึ่งสนับสนุนโดยข้อสังเกต (Observation) ว่า สัดส่วน (Proportion) ของการด้อยสมรรถภาพที่รุนแรง (Severe disability) ในบรรดาผู้ป่วยสูงอายุ ได้ลดน้อยถอยลง

นอกจากนี้ การวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า สัดส่วนของอายุคาดที่เหลืออยู่ (ซึ่งก็จะเป็น “อายุคาดที่กระฉับกระเฉง”) ได้เพิ่มขึ้น ในหลายทศวรรษ (Decade) ที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มต่อเนื่องไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม การศึกษาในเยอรมนี ในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่า “อายุคาดที่กระฉับกระเฉง” เผชิญกับอุปสรรคร้ายแรง (Serious barrier) ต่อ วิถีชีวิต (Life style) ที่กระฉับกระเฉง ด้วย

แหล่งข้อมูล

1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.

2. The Rising Cost of Living Longer - http://kff.org/medicare/report/the-rising-cost-of-living-longer-analysis-of-medicare-spending-by-age-for-beneficiaries-in-traditional-medicare/ [2015, October 20].