จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 213 : ทฤษฎีถดถอยจากสังคม (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-213

      

      เป็นที่ยอมรับโดยปริยาย (Tacitly) ในหลายส่วนของวรรณกรรมการวิจัย (Research literature) ว่าชราภาพคือการเตรียมตัวตาย ซึ่งกล่าวไว้อย่างชัดแจ้ง (Explicit) ในทฤษฎีถดถอยจากสังคม (Disengagement theory) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการศึกษาผู้อาศัย (Resident) อยู่ในนครแคนซัส (Kansas) โดยทฤษฎีนี้กล่าวว่า เมื่อผู้คนแก่ตัวลง เขาจะติดต่อกับโลก [ผู้คนอื่น] น้อยลง

      ณ ระดับสังคม การสูญเสียคู่ชีวิต (Spouse) และมิตรสหาย และความเหินห่าง (Estrangement) ทางสังคมอื่นๆ อาทิ การเกษียณอายุ (Retirement) เป็นสาเหตุให้ผู้สูงวัยถดถอยจากการติดต่อกับผู้คนอื่น ซึ่งนักวิจัยเห็นว่า เป็นกระบวนการที่สมเหตุผล (Rational process) ซึ่งสนับสนุน (Abetted) โดยธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม (Societal convention)

      ในกระบวนการนี้ ดูเหมือนว่า ผู้สูงวัยเตรียมตัวตายโดยการ “หั่น” (Shred) สายเชื่อมต่อ (Link) กับโลกภายนอก (Physical world) ทฤษฎีนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ (Criticized) อย่างรุนแรง (Harshly) ว่า นำเสนอพฤติกรรมที่รอคอยความตายอย่างดูดาย (Passively) แม้ว่านักวิจัยเจ้าของทฤษฎี พูดถึงมันในเชิงเปรียบเทียบ (Relative) มากกว่าเหมาเอาทั้งหมด (Total)

      นอกจากนี้ นักวิจัยอื่นสังเกตว่า ทัศนคติของสังคม (Societal attitude) ที่แพร่หลายอยู่ (Prevailing) ก็คือผู้สูงวัยในอุดมคติ (Ideally) ควรทำตัวเหมือนวัยกลางคน (Middle age) ซึ่งมิได้มีความเสื่อมถอยทางสุขภาพจากสภาวะปรกติ (Norm) แทนที่จะทำตัวเหมือนคนที่สบประมาท (Denigrating) บั้นปลายของชีวิต

      นักวิจัยสร้างจุดยืนอย่างแข็งขัน (Vigorous stand) ว่า ควรเฉลิมฉลองอัตลักษณ์ (Identity) ที่แตกต่างในบั้นปลายของชีวิตด้วยซ้ำ และให้อำนาจ (Empower) แก่ผู้คนในสภาวะถดถอยที่ผ่าน (Undergo) ประสบการณ์ธรรมชาติ มิใช่ผ่านประสบการณ์ที่ผิดปรกติ (Aberrant)

      อย่างไรก็ตาม ประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ในเวลาต่อมา แสดงว่า ส่วนใหญ่แล้วการถดถอยจากสังคม ถูกจำกัด (Confined) อยู่กับแต่ละบุคคลซึ่งมักจะสันโดษ (Reclusive) หรือในบางกรณี ขึ้นอยู่กับผู้คนที่มีแรงขับ (Thrust) ของความว้าเหว่ (Loneliness) จากพลังสถานการณ์ (Force of circumstances) แม้ว่าผู้ใหญ่เยาว์วัยดูเหมือนจะแสดงข้อจำกัด (Constriction) ของความคาดหวังถึงกิจกรรมอนาคต ท่ามกลางสุขภาพที่เสื่อมถอยลง

      ในกรณีอื่น การถดถอยจากสังคมถูกเชื่อมโยงไปยังระดับของความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ (Economic hardship) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า ยิ่งฝืดเคืองทางเศรษฐกิจมากเท่าไร ยิ่งแยกตัวออก (Isolation) ตามกลุ่มมของเผ่าพันธุ์ (Racial grouping) ในเชิงความน่าจะเป็น (Probabilistic) ชาวอเมริกันเชื้อสายอัฟริกา โดยเฉลี่ยยากจนกว่าชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรป ยังมีข้อโต้แย้งว่า ผู้คนที่ถดถอยจากสังคม คงได้ดำเนินเป็นเช่นนั้นมาตลอดชีวิต กล่าวคือ มิใช่เป็นการสนองตอบอย่างแท้จริงต่อชราภาพซึ่งสนับสนุนการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) หนึ่งที่พบว่า พฤติกรรมมีอยู่ในผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) ก่อนเข้าสู่วัยชรา

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Disengagement theory - https://en.wikipedia.org/wiki/Disengagement_theory [2019, May 14].