จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 201 : สู่ปัจจัยทางจิตและสุขภาพ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-201

      

      ปัจจัยทางจิตวิทยา และอื่นๆ อาจมีความสำคัญน้อยกว่า เมื่อมองในมุมกว้างขึ้น นักวิจัยพบผลลัพธ์เปรียบเทียบ (Analogous) สำหรับผู้สูงวัยที่อยู่ในบ้านตนเอง ดูเหมือน (Appear) ว่าบทบาทของสภาพแวดล้อมที่กว้างออกไป (Broader) เริ่มจะเป็นปัจจัยที่สำคัญกว่างานวิจัยก่อนหน้านี้

      การค้นพบของนักวิจัยเสนอแนะ (Suggest) ว่า การมีปัจจัยพรมลายดอกประดับมากมาย (Rich tapestry) [กล่าวคือสภาพแวดล้อม] กำหนดความพึงพอใจในบั้นปลายของชีวิต อาจเป็นเพราะการศึกษาในอดีตหลายครั้งจำกัดคำถาม หรือมุ่งเน้นการตีวงให้แคบลง (Narrow range) เพื่อจะพบบางปัจจัยที่โดดเด่นออกมา

      การใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative) ครั้งหนึ่ง พบว่า ตัวอย่าง (Sample) ของผู้เข้าร่วมการวิจัย (Participant) มิได้หยิบยกประเด็นการมีสุขภาพดีหรือฐานะการเงินดี เป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจในชีวิต แต่มิใช่การศึกษาทุกครั้งต้องรู้สึกสำนึกผิด (Guilty) เท่าเทียมกันในการเลือก (Selectivity) ผิดวิธีการ

      อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะมองข้ามปัจจัยที่เห็นชัดโดยสามัญสำนึก (Intuitively obvious) อาทิ สุขภาพ การเงิน การปลิดชีพ (Bereavement) สภาพแวดล้อม และการเกษียณอายุ ว่ามีอิทธิพลต่อทั้งการประเมินคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) และความพึงพอใจโดยทั่วไป (General) ในชีวิต

      แต่ไม่ต้องสงสัย (Undoubtedly) เลยว่า ทุกปัจจัยอาจมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ต่อกัน และถูกเกลี่ย (Mediated) ด้วยตัวแปร (Variables) ที่หลากหลายของบุคลิกภาพ (Personality), สภาพแวดล้อมทางสังคม (Social environment), เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับสุขภาพ อันเชื่อมโยง (Linked) ไปยังความรู้สึกของความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being)

      นักวิจัยพบว่า เมื่อควบคุมผลกระทบในทางลบไว้ สุขภาพที่รายงานด้วยตนเอง (Self-reported) มีผลกระทบเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยต่อความเป็นอยู่ โดยนักวิจัยพบอิทธิพลที่ค่อนข้างสม่ำเสมอของระดับความมั่นคงในอารมณ์ (Neuroticism) ส่วนการวัดผลสุขภาพ โดยใช้มาตรวัด (Measure) ที่รายงานด้วยตนเองในกลุ่มผู้คนที่มีสุขภาพดีโดยทั่วไป มักเที่ยงตรง (Objective) กว่าการใช้ตัวแทนส่วนตัดขวาง (Cross-section representative) ของผู้คน ซึ่งอาจให้ผลลัพธ์ (Yield) ที่แตกต่างกัน

      อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ค่อยมี (Rarely) การเชื่อมโยงหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one link) อย่างง่ายดายของสรรพสิ่ง และหลายๆ ด้าน (Aspect) ของสุขภาพ ก็ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยมากมาย (Multiple) ตัวอย่างเช่น รัฐบาลทั่วโลกต่างให้ความสนใจ (Keen) ต่อการให้ประชาชนดำเนินวิถีชีวิตอย่างมีสุขภาพดี, อาหารการกิน (Diet), การออกกำลังกาย, และชีวิตคาด (Life expectancy) ทื่ยืนยาว แต่แม้ว่าการมีวิถีชีวิตที่แข็งแรงเป็นสิ่งที่ดี เราจะชักจูง (Persuade) ผู้สูงวัยให้ปฏิบัติตามได้อย่างไร หากเขาไม่พร้อม? มีสัญญาณ(Sign) บางอย่างที่ไม่เป็นมงคล (Propitious) ตัวอย่างเช่น การศึกษาหลายครั้งแสดงว่า ผู้ใหญ่สูงวัยมีนิสัยการกินที่แย่มาก แม้จะมีข้อยกเว้น

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Psychological well-being, health and ageing https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4339610/ [2019, February 19].