จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 199 : ความเป็นอยู่ในวัยเกษียณ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-199

      

      พึงสังเกตว่า ในแต่ละฉาก (Episode) ในอดีตของชีวิตบุคคลมีผลกระทบ (Impinge) ต่อทัศคติในบั้นปลายของชีวิต สิ่งที่แน่ชัด (Obviously) ก็คือ การตัดสินใจเกี่ยวกับอาชีพงานการ (Career), ความสัมพันธ์ (Relationship) อาทิ จะมีลูกหรือไม่ ล้วนมีผลกระทบโดยตรง

      นักวิจัยพบว่า เหตุการณ์ในเชิงลบในชีวิตมีแนวโน้มที่จะกระทบด้านลบ (Negative aspect) ของอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลนั้น ในทางกลับกัน เหตุการณ์ในเชิงบวก ก็จะมีผลกระทบในด้านบวก โดยมีอิทธิพลตรงข้าม (Cross-over) น้อยมาก ซึ่งสนับสนุน “ทฤษฎี 2 ปัจจัยของความเป็นอยู่” (Two-Factory Theory of Well-Being)

      ยังมีนักวิจัยที่ใช้วิธีการที่แตกต่าง โดยตรวจสอบความรู้สึกในความพึงพอใจต่อชีวิตในบรรดาสตรีชาวอเมริกันชนชั้นกลาง (Middle-class) ที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจโลก (Great Depression) ซึ่งต้องทนทุกข์ทรมาน (Endure hardship) ในช่วงอายุ 30 ปี แล้วพบว่าในปัจจุบัน กลุ่มสตรีดังกล่าวได้กลายเป็นผู้สูงวัยที่มีอัตราความพึงพอใจในชีวิตที่สูงขึ้น

      อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน (Reversely) เมื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์เดียวกันในสตรีชนชั้นกรรมกร (Working-class) พบว่า มีความพึงพอใจในชีวิตที่ต่ำกว่า อาจเนื่องจากสตรีชนชั้นกลาง ได้แสดงความสามารถในการเผชิญกับวิถีชีวิตทางวัตถุ (Material lifestyle) ได้ดีกว่า ในขณะที่สตรีชนชั้นกรรมกรหยั่งเห็น (Perceive) ตนเองว่ายังคงอยู่ในชนชั้นต่ำสุดของสังคม

      ในการเปรียบเทียบ (Analogous) ผู้คนให้คะแนนสูงในเรื่องสติปัญญา (Wisdom) และผู้ผ่านประสบการณ์วิกฤตเศรษฐกิจโลก จะมีสุขภาพจิต (Psychological health) ที่ดีกว่าในบั้นปลายของชีวิต แต่ไม่ว่าจะมีภูมิหลัง (Background) อย่างไร ในภาพรวม สตรีแสดงระดับที่ต่ำกว่าของความเป็นอยู่ตามจิตวิสัย (Subjective) บนพื้นฐานของวรรณกรรมวิจัยแบบทั้งระบบ (Meta-analysis)

      ปัจจัยอื่นๆ ก็มีส่วนสร้าง (Contribute) ความพึงพอใจในชีวิต นักวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมเป็นกลุ่มในการระลึกถึงย้อนหลัง (Reminiscence) ทำให้ระดับความพึงพอใจสูงขึ้น ในบรรดาสตรีสูงวัยที่เป็นแม่บ้าน แต่เหตุการณ์นี้ไม่ควรใช้สนับสนุนแบบฉบับ (Stereotype) ของสตรีสูงวัยผู้โหยหา (Long) ที่จะอยู่กับอดีต

      แม้จะมีประจักษ์หลักฐานว่า อย่างน้อยบางกลุ่มของผู้สูงวัย ต้องการให้รับรู้ความสำเร็จและสถานะ (Status) ในอดีต แต่เมื่อถูกถามว่า “หากมองย้อนหลัง ช่วงไหนของชีวิตนำมาซึ่งความพึงพอใจสูงสุด” คำตอบที่ได้รับมากที่สุดจากผู้สูงวัยก็คือ “ปัจจุบัน!” โดยทั่วไป (และอาจไม่น่าประหลาดใจ) นักวิจัยเกือบทั้งหมดพบว่า กิจกรรมสังคม (Social activities) และมิตรภาพ (Friendship) เป็นประโยชน์ (Beneficial) [ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงวัย] แม้ว่าในกรณีของมิตรภาพ คุณภาพอาจมีความสำคัญมากกว่าปริมาณ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Psychological well-being, health and ageing https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4339610/ [2019, February 5].