จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 194 : ผลกระทบวัยเกษียณ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-194

      

      วิธีการหนึ่งของการตรวจสอบ (Examine) ผลกระทบของวัยเกษียณคือการพิจารณาในบริบท (Context) ของแบบจำลอง (Model) ที่ใหญ่ขึ้นของพัฒนาการช่วงชีวิต (Life-span) ทฤษฎีบทบาท (Role Theory) โต้แย้งว่า เมื่อผู้คนแก่ตัวลง ก็จะมีบทบาทสังคม (Societal) ที่หลากหลาย รวมทั้งบทบาทของวัยเกษียณ

      เนื่องจากบทบาทที่ด้อยคุณค่า (Less prestigious) กว่าผู้ที่ยังทำงานอยู่ การเกษียณอายุเป็นช่วงเวลาที่อาจ (Potentially) สร้างความเสียหายทางจิตวิทยา (Psychologically damaging) เมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีต่อเนื่องของการเกษียณอายุ (Continuing Theory of Retirement) ซึ่งมองเห็นการเกษียณอายุเป็นความต่อเนื่องของความรู้สึกมีตัวตน (Sense of identify) เหมือนก่อนหน้านี้ ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่ไม่เคร่งเครียดนัก (Stressful)

      ผลกระทบของการเกษียณอายุต่อสุขภาพ มักยุ่งยากในการวัดผล (Gauge) เนื่องจากผู้เกษียณจากการทำงาน มักมีอายุมาก นี่หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงในสุขภาพจำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นหลังวัยเกษียณ (Post-retirement) และมักสัมพันธ์กับอายุมากกว่าสัมพันธ์กับการเกษียณจากการทำงาน

      นักวิจัยศึกษาชาวโปรตุเกส (Portuguese) ที่เกษียณจากการทำงาน โต้แย้งว่าผู้คนจำนวนมากพบว่า การเกษียณ (โดยตัวมันเองแล้ว) เป็นวัยพักผ่อน (Relaxing) และน่ารื่นรมย์ (Pleasurable) ปราศจาการความเครียด และมักกล่าวถึง (Cite) ว่า “เป็นนายของตนเอง” ปัจจัยในเชิงลบที่อยู่รอบ (Surrounding) วัยเกษียณ เป็นผลพวง (Product) ของชราภาพ มากกว่าการเกษียณโดยตัวมันเอง (Per se)

      นักวิจัยศึกษากลุ่มคนงานก่อสร้าง (Construction workers) ชาวสวีเดน (Swedish) ที่เกษียณจากการทำงานแต่เนิ่นๆ แล้วพบว่า ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างอัตราการตาย (Mortality) กับอายุเกษียณ แม้ว่าจะมีผู้เกษียณแต่เนิ่นๆ ตายก่อนปรกติ (Norm) นักวิจัยสรุปว่า มันเกิดจากสุขภาพทางกายของคนงานมากกว่าการเกษียณโดยตัวมันเอง

      อันที่จริง มีปัจจัยหลากหลาย (Variety) ที่หล่อหลอม (Shape) วัยเกษียณ โดยที่ในภาพรวมอาจซับซ้อน (Complicated) จากความแตกต่างและสภาพแวดล้อม (Circumstance) ของแต่ละบุคคล มีการกล่าวถึงผลกระทบของการเกษียณอายุต่อน้ำหนักเพิ่ม (Weight gain) ในวรรณกรรม (Literature) แต่การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้แสดงผลกระทบเพียงเล็กน้อย (Slight)

      นักวิจัยพบว่า การเกษียณจากการทำงานทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยที่ค่าดัชนีมวลกาย [Body mass index : BMI] เพิ่มขึ้น = 0.24) หรือประมาณ 1 ใน 5 ของน้ำหนักรวมที่เพิ่มขึ้นในผู้คนที่มีอายุอยู่ระหว่าง 50 ถึง 60 ปี (ซึ่งมี BMI เพิ่มขึ้น = 1.30) นักวิจัยพบน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในสตรีที่มีอาชีพในโรงงาน (Blue-collar occupation) โดยที่เธอเหล่านั้น มีน้ำหนักปรกติ ณ เวลาที่เกษียณจากการทำงาน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. The Effects of Retirement on Physical and Mental Health Outcomes - https://www.nber.org/papers/w12123 [2019, January 1].