จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 185 : ความแตกต่างข้ามวัฒนธรรม (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-185

      

      ผลงานวิจัยมีสัดส่วนค่อนข้างสูงที่ทำกันในประเทศอุตสาหกรรมด้วยวัฒนธรรมตะวันตก นี่มิใช่เป็นความลำเอียงที่จงใจ (Willful bias) แต่เป็นเพียงการสะท้อนถึงความจริงที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป แต่อาจไม่น่าจะกังวลนัก เพราะการเปลี่ยนแปลงในความทรงจำขณะทำงาน (Working memory) ตามอายุขัยมีแนวโน้มที่จะเหมือนกันจากออสเตรเลียถึงแซมเบีย (Zambia)

      ข้อเท็จจริงนี้ก็ประยุกต์ใช้ได้กับการรับรู้ (Cognitive) ที่เปลี่ยนแปลงตามอายุขัย อาจมีข้อยกเว้นบ้าง อาทิ หนทางที่ระลึกถึงเรื่องราว (Story recall) อาจแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ข้อโต้แย้งหลักก็คงเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม การศึกษาว่า ผู้สูงวัยเสนอตนเองต่อโลกภายนอกอย่างไร? พบอย่างชัดเจนว่า วัฒนธรรมมีโอกาสให้ผลกระทบสูง ถ้าประเทศยอมรับและสนับสนุนผู้สูงวัย ผู้คนก็จะมีทัศนคติและพฤติกรรมที่แตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ลำเอียงในเชิงลบต่อผู้สูงวัย

      ในการอภิปรายเรื่องทัศนคติต่อชราภาพในสื่อยอดนิยม (Popular media) มักการเปรียบเทียบระหว่างทัศนคติของชาวตะวันออกกับชาวตะวันตก ภาพที่มองเห็นบ่อยจนเบื่อ (Cliché) ของผู้ถ่ายทำสารคดี (Documentary) ก็คือการเปรียบเทียบฉาก (Shot) ของผู้เกษียณอายุแล้วตามอาคารชุด (Apartment block) ที่สลักหักพัง (Blight) ในประเทศอังกฤษ กำลังร่ายรำไท้เก็ก (Tai Chi) เป็นหมู่ชน (Communal) อายุประมาณ 80 ปี (Octogenarian)

      แต่ก็มีความแตกต่างระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก ตัวอย่างเช่น ผู้คนในฮ่องกงมีสัดส่วน (Proportion) ที่สูงกว่าของสมาชิกในครอบครัว และสัดส่วนที่ต่ำกว่าของสมาชิกที่คุ้นเคยกัน (Acquaintance) ในแวดวงสังคมไปตามวัยที่สูงขึ้น แต่สัดส่วนที่กลับกันจะปรากฏในผู้สูงอายุในเยอรมัน

      โดยทั่วไป ในโลกตะวันออก บั้นปลายของชีวิต จะกลับกันกับโลกตะวันตก อย่างไรก็ตาม นี่เป็นคำกล่าวสรุปโดยทั่วไป (Generalized) ด้วยเหตุผล 2 – 3 ประการ ในประการแรก ผู้สูงวัยที่ยังคงกระฉับกระเฉง (Active) เท่านั้นที่ยังมีคุณค่า (Prized) เพราะสร้างคุณประโยชน์ (Contribution) ได้ ส่วนบั้นปลายของชีวิตในสถานพยาบาล (Infirmity) และต้องพึ่งพาผู้อื่น (Reliance) นับเป็นชีวิตในเชิงบวกที่ลดลง

      เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ก้าวหน้าต่อไปที่ดูเหมือนจะหยุดยั้งไม่ได้ (Inexorable) ก็มีสัญญาณ (Sign) ในประเทศตะวันออก ของการเปลี่ยนแปลงไปยังทิศทางของคุณค่า (Value) ของโลกตะวันตก กล่าวคือ ความคิดเห็น (View) เกี่ยวกับชราภาพเริ่มเห็นเป็นเชิงลบ อย่างไรก็ตาม ปฏิสัมพันธ์ของชั่วอายุคน (Generation) X ก็คือ ผู้คนในประเทศจีนมีความคิดเห็น (Opinion) ที่สุดขั้วน้อยกว่า (Less extreme) ผู้สูงวัยในสหรัฐอเมริกา

      นักสังเกตการณ์ชาวตะวันตก เห็นว่าวัฒนธรรมตะวันออกมีความกลมกลืน (Homogeneous) กันแต่ในความเป็นจริง (Reality) มิใช่ทุกวัฒนธรรมตะวันออก จะมีความเข้มแข็งของทัศคนติที่เท่าเทียมกัน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Basic cultural values and differences toward health, illness and treatment preferences - https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8843499 [2018, October 30].