จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 182 : ทัศนคติเปิดเผย (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-182

      

      การฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับชราภาพ แต่ไม่มีผลกระทบอย่างแท้จริง (Underlying) ต่ออารมณ์ความรู้สึก หรือความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กลุ่มนักวิจัยหนึ่งได้ศึกษาลูกจ้างผู้เยาว์วัยของอำเภอหนึ่งในสหราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งได้รับการฝึกอบรมครึ่งวัน โดยจงใจ (Intention) ที่จะเพิ่มการรับรู้ของชราภาพและผู้สูงวัย กลุ่มนักวิจัยให้ผู้เข้ารับการวิจัย (Subject) ตอบแบบสอบถาม (Questionnaire)

      ก่อนมีการฝึกอบรมผู้เข้ารับการวิจัยได้รับแบบสอบถาม 2 ชุด ชุดหนึ่งวัดทัศนคติต่อชราภาพ และอีกชุดหนึ่งวัดความรู้เกี่ยวกับชราภาพ หลังการฝึกอบรมได้ 2 เดือน ผู้เข้ารับการวิจัย ตอบแบบสอบถามชุดเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฏ (อย่างไม่น่าประหลาดใจ) ว่า ความรู้ในเรื่องชราภาพดีขึ้นหลังการฝึกอบรม แต่ทัศนคติต่อชราภาพและต่อผู้สูงวัยมิได้เปลี่ยนแปลง ยกเว้นการเพิ่มขึ้นของการรับรู้ว่า ไม่ควรใช้ภาษาที่แสดงความลำเอียงในเชิงลบต่ออายุ (Ageist)

      การค้นพบนี้ น่าจะก่อให้เกิดความกังวล (Potentially worrying) เนื่องจากการศึกษาหลายครั้งในเรื่องการฝึกอบรมมิให้เกิดความลำเอียงในเชิงลบต่ออายุ ใช้มาตรวัดของความรู้ในเรื่องชราภาพ วัดผล (Gauge) ว่า การฝึกอบรมนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่? อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปของกลุ่มนักวิจัยที่ว่า ความรู้อาจเปลี่ยนแปลง [รู้มากขึ้น] โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของทัศนคติที่แท้จริง (Underlying) ก็ไม่แตกต่างจาก แม่ทัพในสนามรบ สามารถเรียนรู้ได้มากเกี่ยวกับสถานะ (State) ของกำลังข้าศึก (Opposing forces) โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อศัตรู [ชอบหรือเกลียด]

      อันที่จริง กลุ่มนักวิจัยนี้ พบว่า คะแนนของความรู้และทัศนคติ มิได้มีสหสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสะท้อน (Echo) ถึงผลลัพธ์ของนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่ง ขอบเขต (Degree) ที่ทัศนคติจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ดังนั้น อาจสันนิษฐานว่า รูปแบบตายตัว (Stereotype) ของการลำเอียงในเชิงลบต่อชราภาพ มีให้เห็นได้ชัด (Strong) ในหลายๆ สถานการณ์ (Instance) ไม่ว่า จะใช้มาตรวัดอะไรก็ตาม (Whatever) ของทัศนคติเปิดเผยที่ได้แสดงออก

      อันที่จริงแล้ว รูปแบบตายตัวของความลำเอียงในเชิงลบต่ออายุ มักปรากฏ (Appear) เมื่อแบบสอบถาม (Questionnaire) มิได้วัดมุมมองโดยตรง ตัวอย่างเช่น กลุ่มนักวิจัยพบว่า ผู้เข้ารับการวิจัยใช้คุณลักษณะ (Attribute) ในเชิงบวกไม่กี่ข้อในการอธิบายภาพลักษณ์ของผู้สูงวัยอย่างมีนัยสำคัญ

      การศึกษาในเวลาต่อมาของกลุ่มนักวิจัยเดียวกันนี้ ตอกย้ำ (Reinforce) การค้นพบทความสัมพันธ์เชิงนัยหรือทางอ้อม (Implicit association) ในเรื่องผู้ใหญ่กับชราภาพ ว่ามักไม่สัมพันธ์กันโดยตรง (Less positive) เหมือนทัศนคติเปิดเผย (Explicit) ผู้เข้ารับการวิจัยที่สื่อสารกับกลุ่มที่มีอายุแตกต่างกัน มีแนวโน้มที่จะดูแคลน (Talk down) ผู้สูงวัย แม้ว่าการกระทำนี้จะลดน้อยลง เมื่อมีการตอกย้ำ (Emphasis) ว่าผู้สูงวัยมิได้ด้อยความสามารถ (Competence)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Attitude to Aging Impacts Everything About Aging https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-new-resilience/201612/attitude-aging-impacts-everything-about-aging [2018, October 9].