จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 180 : ทัศนคติต่อชราภาพ (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-180

      

      นักวิจัยตรวจสอบความรู้ของแพทย์ชาวสวีเดน (Swedish) และฟินแลนด์ (Finnish) ในเรื่องชราภาพและการขับรถของผู้สูงอายุ เนื่องจากกฎหมายในประเทศฟินแลนด์ บังคับให้ผู้สูงวัยต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้ขับรถได้ แต่ในสวีเดนไม่มีกฎหมายนี้ ดังนั้น เราอาจสมมุติ (Assume) เอาเองว่า แพทย์ชาวฟินแลนด์ น่าจะมีความรู้ในเรื่องชราภาพและการขับรถของผู้สูงอายุ มากกว่าแพทย์ชาวสวีเดน แต่ความจริงไม่เป็นไปตามข้อสมมุติฐานนี้

      นักวิจัยสรุปว่า อาจเป็นเพราะความเย็นใจ (Complacency) ของแพทย์ชาวฟินแลนด์ที่เชื่อมั่นในสมรรถนะ (Efficacy) ของหัตถการการคัดกรอง (Screening procedure) แต่ในความเป็นจริง แพทย์เหล่านั้นค่อยๆ เรียนรู้จากประสบการณ์ปฏิบัติซ้ำ (Repeated exposure) มากกว่า

      เราอาจรู้สึกอุ่นใจ (Comfort) ขึ้น จากข้อโต้แย้งที่ว่า ทัศนคติในเชิงลบนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น ทีมนักวิจัยหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การให้ผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) รับรายงานในเชิงบวกเกี่ยวกับชราภาพสม่ำเสมอ จะสามารถปรับปรุงวิจารณญาณ (Judgment) ของผู้เข้าร่วมวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงวัยได้

      นักวิจัยอีกทีมหนึ่ง การรายงานว่าประสบการณ์ในเชิงบวก (Positive experience) ของผู้สูงวัย เป็นตัวกำหนด (Determinant) ที่สำคัญของความคิดเห็นในเชิงบวกของผู้ใหญ่เยาว์วัยในตัวผู้สูงวัย

      ในทำนองเดียวกัน นักวิจัยอีกทีมหนึ่งก็พบว่า การเปลี่ยน (Altering) ชุดคำถาม 5 ข้อในเรื่องทัศนคติ ในตอนต้นของแบบสอบถาม (Questionnaire) จากเป็นกลาง (Neutral) เป็นค่อนข้างเชิงลบ (Very slightly negative) ก็เพียงพอที่จะสร้างให้เกิดวิจารณญาณในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงวัย

      นักวิจัยอีกทีมหนึ่งพบว่า การขอให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยให้คะแนนคุณลักษณะ (Characteristics) ของผู้มีอายุระหว่าง 70 ถึง 85 ปี ส่งผลให้การให้คะแนนดีขึ้น (More favorable) อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบการขอให้ผู้เข้าร่วมวิจัยให้คะแนนคุณลักษณะของ “คนแก่” (Old people)

      นักวิจัยพบว่า ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลชาวกรีก (Greek) ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ของหลักสูตรวิทยาลัยพยาบาล [เช่นเดียวกับนักวิจัยอีกคนหนึ่งที่พบในหลักสูตรฝึกอบรมการรักษาพยาบาลผู้สูงวัย (Geriatric medicine)] ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อให้ผู้ดูแลได้รับประสบการณ์จากแนวความคิดของการดูแลผู้สูงอายุที่สัมฤทธิ์ผลแล้ว ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนให้ผู้ดูแลได้สะท้อนตนเอง (Self-reflection) จะเป็นประโยชน์ (Beneficial) ต่อการดูแลผู้ป่วยอย่างแท้จริง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Attitude to Aging Impacts Everything About Aging https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-new-resilience/201612/attitude-aging-impacts-everything-about-aging [2018, September 18].