จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 167 : จิตวิเคราะห์กับบุคลิกภาพ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-167

      

       เส้นทาง (Pathway) เหล่านี้ มิใช่ทางร่องลึก (Rut) ซึ่งไม่มีทางหนี (Escape) แต่เป็นเส้นทางที่เปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตาม แบบจำลองที่นักวิจัยได้คิดค้น ยังต้องอาศัยแต่ละบุคคลในการคลายปมความขัดแย้งนานัปการ นักวิจัยนำเสนอประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า บูรณาการของอัตตาอย่างเหมาะสม (Ego integration) มักจะบรรลุได้โดยผู้คนที่สามารถคลายปมความขัดแย้งได้ในขั้นตอนก่อนหน้านั้น

      กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ บุคลิกภาพในช่วงเวลาต่อมาของชีวิต เป็นผลพวง (Product) ของพฤติกรรมก่อนหน้านั้น พอๆ กับสถานการณ์ปัจจุบัน ผลการศึกษาข้ามช่วงเวลา แสดงว่าสัดส่วนใหญ่ (Large proportion) ของผู้เข้าร่วมวิจัย ดูเหมือน (Appear) จะอยู่บนเส้นทางที่แท้จริง (Authentic) และประสบผลสัมฤทธิ์ (Fulfillment)

      อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีประเด็นว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยอาจมิใช่เป็นกลุ่มตัวแทน (Representative) ที่ดีประชากร หรือกลุ่มประชากรอื่น จะสามารถได้ประโยชน์จากอนาคตที่มีความสดใสพอๆ กัน (Equally rosy future) ข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับทฤษฎีอีริคสัน ก็คือ มันแสดง (Portray) ชราภาพในมิติของการเตรียมตัวเพื่อการทำตามในเชิงรับ (Passive) ซึ่งมิใช่สิ่งที่อีริคสันตั้งใจ เขามองขั้นตอนสุดท้ายของพัฒนาการ เป็นกระบวนการเรียนรู้ (Learning process) ความตายจึงเป็นการสูญเสียพลัง (Sting)

      นักวิจัยขยายผลของทฤษฎีอีริคสัน (Erikson) โดยโต้แย้งว่า ในช่วงเวลาต่อมาของชีวิต ความขัดแย้ง 3 ประการต้องได้รับการคลายปม ความขัดแย้งประการแรกระหว่าง ความแตกต่างของอัตตาอย่างเหมาะสม (Ego differentiation) กับการยึดมั่นในบทบาทการทำงาน (Work-role pre-occupation)

      ผู้คนที่ทำงาน (โดยเฉพาะผู้ชาย) ได้สร้างสถานะ (Status) ของตนเอง และแนวความคิดของตนเอง (Self-concept) ผ่านการทำงาน ดังนั้น นักวิชาชีพ (Professional) อาจพัฒนาการประเมินคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) เนื่องจากเขามีอาชีพที่สังคมให้ความสำคัญ (Favorable regard) อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้คนเกษียณจากตำแหน่งดังกล่าว สถานะของขาก็มลายหายไปพร้อมกับงาน

      ความขัดแย้งประการที่ 2 ระหว่างร่างกายเหนือธรรมชาติ (Body transcendence) กับการยึดมั่นในร่างกาย [ตามธรรมชาติ] (Body pre-occupation) สำหรับบุคคลส่วนใหญ่ ชราภาพนำมาซึ่งความเสื่อมถอยในสุขภาพ และสถานะกายภาพโดยทั่วไป ถ้าผู้สูงวัยตอกย้ำเกินไป (Over-emphasize) ถึงความสมบูรณ์ของร่างกาย (Bodily well-being) ที่เขาจะได้รับ (Extracting) จากความสนุกสนานของชีวิต เขาจะได้รับความผิดหวัง (Disappointment) เป็นผลลัพธ์ที่เกือบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความสำเร็จจากชราภาพเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเอาชนะ (Overcome) ความไม่สะดวกสบาย (Discomfort) ทางร่างกาย หรืออย่างน้อยก็พบกิจกรรมสนุกสนาน ซึ่งสถานะทางร่างกายมิได้มีความสำคัญแต่ใด

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Psychoanalysis https://en.wikipedia.org/wiki/Psychoanalysis [2018, June 26].