จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 164 : อุปนิสัยกับชราภาพ (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-164

      

      การเปิดรับประสบการณ์ (Openness to experience) เป็นตัวพยากรณ์ (Predictor) ที่มีนัยสำคัญของความสามารถในการรับมือกับวิถีชีวิตที่หักโหม (Over-exerting) [แต่ทำลายสุขภาพ] แต่วิถีชีวิตดังกล่าว มีสหสัมพันธ์ในเชิงลบ (Negative correlated) กับการทำงานของผู้บริหาร (Executive function : EF) ในผู้สูงวัย [EF คือความสามารถในการวางแผนและควบคุมกระบวนการทางจิต (Mental process)]

      อย่างไรก็ตาม ก็มีมาตรวัดอื่นที่การเปิดรับประสบการณ์ไม่มีบทบาทของการพยากรณ์อย่างมีนัยสำคัญ อาทิ การกินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด (Medication adherence) ส่วนระดับที่ต่ำของความเห็นใจผู้อื่น (Agreeableness) และของความเต็มใจที่จะอดทนต่อความไม่เป็นที่นิยม (Endure unpopularity) เมื่อจำเป็น สะท้อนออกมาในรูปของการเพิ่มอัตราการใช้แผนกฉุกเฉินของผู้สูงวัย เพื่อการรักษาพยาบาล [แทนการไปตามขั้นตอนปรกติในโรงพยาบาล]

      ในทางกลับกัน (Conversely) ระดับสูงของความเห็นใจผู้อื่น มีความสัมพันธ์กับการควบคุมที่ได้ประสิทธิผล (Effective regulation) ของการสนองตอบต่อเหตุการณ์ที่น่าเศร้า ส่วนการวิจัยในเรื่องความซื่อตรง (Conscientiousness) ค่อยๆ (Piecemeal) แสดงผลลัพธ์ที่คล้ายกับความสัมพันธ์ที่พบระหว่างมาตรวัดที่ต่างกัน (Disparate) อาทิ ผลกระทบในระดับต่ำของหลายๆ โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นพร้อมกัน อายุคาด (Life expectancy) ที่ยาวขึ้น และอุบัติการณ์ (Incidence) ที่ลดลงของการรับรู้ที่เสื่อมถอยลงเล็กน้อย (Mild cognitive impairment)

      เราอาจสรุปได้ว่า แม้ลักษณะ (Manner) ที่อุปนิสัยเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงชีวิต (Life span) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่อุปนิสัยอาจมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับดัชนีหลัก (Key index) ที่ชี้วัดสุข¬ภาพและกิจกรรม บทบาทของความไม่มันคงในอารมณ์ (Neuroticism: N) ยังเป็นปัจจัยลบอยู่เสมอ (Unremittingly negative) คะแนนสูงของ N มักแสดง (Signify) ถึงการใช้เพื่อพยากรณ์ (Prognose) อย่างไม่ค่อยได้ผลในเรื่องมาตรวัดที่หลากหลาย (Wide variety) ของสุขภาพและอายุคาด

      อย่างไรก็ตาม เราต้องระมัดระวังไม่ให้ความสำคัญจนเกินไป (Overplay) ในข้อโต้แย้งนี้ แม้ว่ามาตรวัด (อาทิ ความไม่มั่นคงทางอารมณ์) อาจดูเหมือนมีผลกระทบบ้าง แต่ไม่สามารถอธิบายความแปรปรวนที่สังเกตเห็นได้ทั้งหมด อุปนิสัยมักมีหลากหลาย (Multiple) ความสัมพันธ์กับมาตรวัดอื่นๆ หรือไม่อาจอธิบายความแปรปรวนจำนวนมาก

      เมื่อพบว่า อุปนิสัยมีผลกระทบ ผลกระทบนั้น ก็อาจบรรเทาได้ (Lessened) หรือขยายเพิ่ม (Magnified) ด้วยปัจจัยอื่นๆ อาทิ ระดับชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio-economic class) นอกจากนี้ ยังอาจมีผลกระทบของคนรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort effect) กล่าวคือผู้เข้าร่วมวิจัยสูงวัย อาจไม่เปิดใจเกี่ยวกับการสนองตอบเมื่อเทียบกับผู้เยาว์วัย มิใช่เพราะตัวบุคลิกภาพเอง (Per se) แต่เพราะเขาต้องการแสดงให้เห็นความสุภาพมากกว่า

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Age Changes and Differences in Personality Traits and States of the Old and the Very Oldhttps://academic.oup.com/psychsocgerontology/article/57/2/P144/600161 [2018, June 5].