จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 163 : อุปนิสัยกับชราภาพ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-163

      

      ในการศึกษาเรื่อง การละเลยตนเอง (Self-neglect) ในผู้สูงวัย นักวิจัยสรุปว่า ในบางสถานการณ์ ความไม่มั่นคงในอารมณ์ (Neuroticism) ไม่อาจเป็นตัวพยากรณ์ที่สมเหตุผล (Valid predictor) เมื่อมีตัวแปรอื่นๆ ในวงที่กว้างขึ้น (Broader range) ถูกควบคุม (Controlled)

      การวิจัยเกี่ยวกับการเป็นคนเปิดเผย (Extraversion: E) นำมาซึ่ง (Yield) การค้นพบ (Finding) นานาระดับของความแม่นยำในการพยาการณ์ ตัวอย่างเช่น การค้นพบ (Discovery) ว่า E มีความสัมพันธ์กับแนวโน้ม (Likelihood) ของการทำงานอาสาสมัคร (Voluntary work) ในเวลาต่อมาของชีวิต เป็นสิ่งที่พยากรณ์ได้ค่อนข้างแม่นยำ

      การมี E ในระดับสูง ดูเหมือนจะเป็นความได้เปรียบ (Advantageous) ในการฟื้นฟู (Recovery) จากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) การจรรโลง¬ขวัญกำลังใจ (Morale) ความรู้สึกสุขสบาย (Well-being) และการมองสุขภาพในอนาคต (Future health) ที่สดใส (Positive outlook)

      สิ่งเหล่านี้ ไม่น่าแปลกใจนัก เนื่องจากเรามักหยั่งรู้ (Perceive) บุคลิกภาพที่เปิดเผย (Out-going personality) ว่าเป็นสุขภาพที่แข็งแรง (Robust health) อย่างไรก็ตาม นักวิจัยมักรายงานว่า การเป็นคนเปิดเผย ไม่มีสหสัมพันธ์ (Correlation) กับปัจจัยอื่นๆ ที่น่าสนใจ แม้จะเป็นสิ่งที่คาดหวังโดยสัญชาตญาณ (Intuitively expected) ก็ตาม

      ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า คะแนนสูงของ E ไม่สามารถพยากรณ์อย่างมีนัยสำคัญในเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้ใหญ่สูงวัยในการตรวจสุขภาพ (Health check-up) ประจำปี และก็มิได้มีสหสัมพันธ์กับแผนการสุขภาพในอนาคต (Future healthcare plan) แต่กรณีอื่น คะแนน E สูงของผู้มีอายุอื่น [ที่มิใช่สูงอายุ] สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับมาตรวัดดังกล่าวในเวลาต่อมาของชีวิต

      นักวิจัยพบว่า แม้คะแนน E จะมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความสุขสบาย (Well-being) ในผู้ใหญ่เยาว์วัย แต่ก็มิได้เป็นตัวพยากรณ์ที่มีนัยสำคัญของผู้ใหญ่สูงวัย ในบางกรณี มีการรายงานว่า การเป็นคนเปิดเผยเป็นความเสียเปรียบด้วยซ้ำ นักวิจัยพบความสัมพันธ์ในเชิงลบระหว่าง คะแนนสูงของ E กับการผลักดันให้เกิดผลงาน (Driving performance) ในผู้สูงวัย

      นักวิจัยยังพบว่า การเปิดรับประสบการณ์ (Openness to experience) มีสหสัมพันธ์กับนานามาตรวัด (Measure) ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงของการวิวัฒนาโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) และความสามารถในการผ่านการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การเชื่อมโยงกับความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ (Imagination) อาจจะอธิบายความสัมพันธ์ที่นักวิจัยได้ค้นพบระหว่างการเปิดรับประสบการณ์กับความสำเร็จในวัยชรา แต่บางครั้งการเปิดรับประสบการณ์ก็สัมพันธ์กับมาตรวัดอื่นที่ผสม (Combination) กับอุปนิสัย [อีกทอดหนึ่ง] ตัวอย่างเช่น การรับรู้ความต้องการในอนาคตของการดูแลสุขภาพ เชื่อมโยงกับการเปิดรับประสบการณ์และยังเชื่อมโยงกับความไม่มั่นคงในอารมณ์ (Neuroticism) และความเห็นใจผู้อื่น (Agreeableness)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Age Changes and Differences in Personality Traits and States of the Old and the Very Oldhttps://academic.oup.com/psychsocgerontology/article/57/2/P144/600161 [2018, May 29].