จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 161 : อุปนิสัยกับชราภาพ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-161

      

      สรุปแล้ว การแปลผล (Interpretation) ของการค้นพบในเรื่องผลการทดสอบ (Test performance) อุปนิสัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอายุ ต้องทำด้วยความระมัดระวังยิ่ง (Extremely cautious) ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังต่อไปนี้

  • การศึกษาหลายครั้งมิได้แสดงผลลัพธ์เหมือนกัน (Uniform) ในการวิเคราะห์ แม้ว่าการศึกษาส่วนใหญ่อาศัยแบบจำลองอุปนิสัยทั้ง 5 (Big Five) แต่ก็มีการศึกษาอื่นๆ ที่มิได้ใช้แบบจำลองดังกล่าว และก็ไม่มีประจักษ์หลักฐานท่วมท้น (Overwhelming) ที่แสดงโดยอัตโนมัติว่า มาตรวัด (Measure) อุปนิสัยทั้ง 5 ดีกว่ามาตรวัดอุปนิสัยอื่นๆ
  • เป็นที่สังเกตว่า ความแปรปรวน (Variability) ที่เพิ่มขึ้น แสดงออกในผลทดสอบ (Test performance) ในช่วงต่อมาของชีวิต แต่ผลทดสอบของแต่บุคคลที่ผันแปรไปตามอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ยังคงมีผลกระทบค่อนข้างอยู่ตัว (Fairly stable)
  • การศึกษาหลากหลาย มิได้ให้ผลลัพธ์เดียวกัน (Unanimous) ในบทสรุปที่เกี่ยวกับอุปนิสัยใดที่เปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมาของชีวิต และอย่างไร แต่ก็มีความเห็นโดยทั่วไปที่สอดคล้องกัน (General consensus) ว่า ความเห็นใจผู้อื่น (Agreeableness) และความซื่อตรง (Conscientiousness) ดีขึ้นในชราภาพ
  • มีประจักษ์หลักฐานว่า ผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน อาจ “แต่งเติมเสริมสี” (Coloring) ผลลัพธ์ แต่มาตรวัดอุปนิสัย อาจไม่เป็นการสะท้อนอย่างแม่นยำของบุคลิกภาพในชีวิตประจำวัน

      แม้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปของบุคลิกภาพตลอดช่วงอายุของชีวิต (Life span) นำมา (Yield) ซึ่งผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกันและทำให้สับสนด้วย การศึกษาด้าน (Aspect) อื่นๆ ของบุคลิกภาพในช่วงเวลาต่อมาของชีวิต ส่งผลให้เกิด (Produce) การค้นพบที่มีแก่นสาร (Substantial findings)

      ตัวอย่างที่สำคัญ คือการศึกษาผลกระทบของความไม่มั่นคงในอารมณ์ (Neuroticism) เราอาจหยั่งรู้ว่าเป็นไปได้ (Intuitively plausible) ที่บุคคลที่กังวลมากและหมกมุ่นครุ่นคิด (Brooding pre-occupations) จะไม่มีแนวโน้มของวิถีชีวิตสุขภาพดี (Healthy life-style)

      ความกังวลโดยตัวมันเอง ก็ทำให้ความดันโลหิตสูง (High blood pressure) ในขณะที่ความพยายามบรรเทา (Alleviate) ความกังวล (อาทิ การดื่มแอลกอฮอร์ เสพยา หรือกินจนเกินไป) ล้วนทำให้สุขภาพประสาท (Neuro health) เลวร้ายลง นอกจากนี้ เมื่อเริ่มเจ็บป่วย ก็เริ่มทวีความกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยจนเกินไป (Excessive) ในที่สุด ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายหนักขึ้น มีการศึกษาอย่างมากมายเหลือเฟือ (Plethora) ที่สนับสนุนในเรื่องนี้

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Age Changes and Differences in Personality Traits and States of the Old and the Very Oldhttps://academic.oup.com/psychsocgerontology/article/57/2/P144/600161 [2018, May 15].