จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 158 : บุคลิกภาพและวิถีชีวิตกับชราภาพ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-158

      

      ผลจากการศึกษา นักวิจัยสามารถพยากรณ์ว่า ผู้สูงวัยจะมีแนวโน้ม (Prone) น้อยกว่า ในอารมณ์หวั่นไหวที่รุนแรง (Violent swing) กล่าวคือ จะสงบกว่า (Calmer) นักวิจัยมิได้โต้แย้งว่า ผู้สูงวัยจะมีความสุขกว่าในบั้นปลายของชีวิต แต่ผู้คนจะมองโลกอย่างเฉยเมย (Indifferent) โดยอารมณ์หวั่นไหวเพียงเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นทิศทางไหน [สุขหรือทุกข์]

      อย่างมากในทางอุดมคติ (At the ideal best) ความเฉยเมยดังกล่าว อาจได้รับการเพาะบ่ม (Cultivated) ให้กลายเป็นความสงบและผ่องใส (Serene) แต่การไม่แยแส (Apathy) หรือความเฉื่อยชา (Sloth) อันไม่พึงปรารถนาอาจเกิดขึ้น โดยบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ (Life-span) ซึ่งเป็นผลลัพธ์มาจากการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยา

      การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงระดับการกระตุ้น (Excitation) ภายในระบบประสาท (Nervous system) แต่ก็มีนักจิตวิทยาอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วย (Dispute) กับข้อโต้แย้ง (Argument) นี้ โดยเชื่อว่า กรณีที่เป็นไปได้ (Plausible) อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต (Life-style)

      กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตเป็นสาเหตุหลัก (Prime) ของการเปลี่ยนแปลงใน (1) การเป็นคนเปิดเผยหรือเป็นคนปกปิด (Extraversion-introversion : EN) (2) การมีจิตวิตกกังวล (Psychoticism : P) และ (3) ความมั่นคงในอารมณ์ (Neuroticism : N) ตัวอย่างเช่น ผู้สูงวัยอาจกลายเป็นคนปกปิด มิใช่เพราะการเปลี่ยนแปลงในระดับการกระตุ้นทางประสาท แต่เพราะเมื่อเขาแก่ตัวลง สังคมเริ่มลดการรองรับ (Less geared to) ความจำเป็น ของเขา

      และนี่เป็นสาหตุให้ผู้สูงวัยถอนตนเองออกจากสังคม อันเป็นอันตราย (Endanger) ต่อความรู้สึกสงวนท่าที (Reserved) แล้วเพิ่มความปกปิด ผู้ชายมักนิยามตนเองมากกว่าผู้หญิงในเรื่องบทบาทในสังคม ดังนั้นผู้ชายจึงสูญเสียความแน่วแน่ (Assertiveness) ในชราภาพ มากกว่าผู้หญิง โดยสะท้อนออกในรูปแบบของคะแนน E ที่ลดลง ในการทดสอบ

      ยังมีนักวิจัยอื่นที่ขยายช่วงกว้างกว่า 3 ประเภท ของอุปนิสัยบุคลิกภาพ ทางเลือกยอดนิยมหนึ่ง คือแบบจำลอง 5 ประเภท (Big 5 model) ซึ่งนักวิจัยสรุป (Predicated) ข้อสมมุติฐานว่า เราอาจอธิบายบุคลิกภาพได้ดีที่สุด บนพื้นฐานของอุปนิสัย 5 ประเภท [ตามชื่อแบบจำลอง] กล่าวคือ (1) ความซื่อตรง (Conscientiousness) [เชื่อถือได้เพียงใด] (2) ความยินยอมเห็นใจ (Agreeableness) [ปฏิบัติตามความปรารถนาของผู้อื่นได้แค่ไหน] (3) การเปิดรับประสบการณ์ (Openness to experience) [เต็มใจเผชิญกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคยอย่างไร] (4) ความสนใจต่อสิ่งภายนอก (Extraversion) และ (5) ความมั่นคงในอารมณ์

      ผลการศึกษาโดยใช้แบบจำลองดังกล่าว และมาตรวัดอุปนิสัยบุคลิกภาพแสดงผลที่ไม่แจ่มชัดนัก (Cut-and-dried) อาจเนื่องจากการใช้แบบทดสอบที่แตกต่างกัน และมาตรวัดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) ที่มีพร้อมมากขึ้นในปัจจุบัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Your Personality Completely Transforms As You Agehttps://www.huffingtonpost.com/entry/personality-changes-age_us_58ac6736e4b02a1e7dac16b3 [2018, April 24].